ลูกผักชี (เมล็ดผักชี) ใช้ทำอะไร สรรพคุณ ประโยชน์ สารสำคัญ?

ลูกผักชี คืออะไร?

ผักชี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coriandrum sativum L. จัดอยู่ในวงศ์ APIACEAE ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ Coriander, cilantro ผักหอม ผักหอมน้อย ผักหอมป้อม ผักหอมผอม ยำแย้ และผักชีลา มีถิ่นกำเนิดอยู่ ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน และแพร่พันธุ์ทั่วไปในเขตอบอุ่นและกึ่งร้อน ในประเทศไทยปลูกได้ทั่วทุกภาค

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นผักชี เป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียว ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ลำต้นเรียวยาว สูง 10 - 40 ซม. ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ใบย่อยเป็นเส้นฝอย ดอกช่อแบบซี่ร่มสองชั้น ออกที่ปลายยอดและซอกกิ่ง ดอกย่อยสีขาวหรือขาวแกมชมพู ส่วนของผลแห้งหรือที่เรียกกันว่า "ลูกผักชี"

ลักษณะ

ลูกผักชี เม็ดผักชี อ.ฝาง เชียงใหม่

ลักษณะภายนอก ผลทรงกลม สี น้ำตาล ผิวเห็นเป็นสันนูนชัดเจน แตกเป็น 2 ซีก เห็นเส้นกลางในผลชัดเจน ขนาดความยาว 0.3 - 0.4 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2 - 0.3 ซม.

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลูกผักชี ใช้ทำอะไร

ลูกผักชีมีกลิ่นหอมเฉพาะและรสเผ็ด นำมาใช้ประโยชน์เป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหาร หรือใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณ

สรรพคุณ

ลูกผักชี มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องเสีย แก้กระหายน้ำ แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมวิงเวียน และช่วยให้เจริญอาหาร ลูกผักชีเป็นสมุนไพรในตำรับยาแผนโบราณ ในบัญชียาจากสมุนไพร บัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ ยาหอมนวโกฐ ยาหอมอินทจักร์ ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู ยามันทธาตุ ยามหาจักรใหญ่ ยาวิสัมพยาใหญ่ และยาอำมฤควาที มีการนำมาใช้ประโยชน์ในทางเครื่องสำอาง และมีงานวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีและ การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ดังต่อไปนี้

องค์ประกอบทางเคมี

  • น้ำมันหอมระเหย ได้แก่ Linalool (พบได้มากประมาณ 70% ของน้ำมันหอมระเหยทั้งหมด), Y-terpinene, (+)-limonene, geranyl acetate, p-cymene-8-ol, nerol, neral, carvacrol, cis- dihydrocarvone, anethole และ thymol
  • กรดไขมัน ได้แก่ petroselinic acid (พบได้มากประมาณ 76% ของกรดไขมันทั้งหมด), palmitoleic acid, palmitic acid, linoleic acid, linolenic acid, oleic acid, stearic acid, myristic acid และ arachidic acid
  • สารกลุ่ม tocopherol และ sterol ได้แก่ 7 tocotrienol, a tocopherol, B sitosterol และ stigmasterol 
  • สารกลุ่ม polyphenol ได้แก่ quercetin และ caffeoyl N-tryptophan hexoside (9)

การศึกษาทางคลินิก

การศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครที่มีอาการของโรคน้ำกัดเท้า โดยให้ทาผลิตภัณฑ์ขี้ผึ้งที่มีส่วนผสม ของน้ำมันลูกผักชี 6% บริเวณที่เป็นน้ำกัดเท้า 2 ครั้ง/วัน เปรียบเทียบกับการใช้ยาหลอก พบว่าบริเวณที่ทา ด้วยผลิตภัณฑ์ขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของน้ำมันลูกผักชีมีลักษณะอาการติดเชื้อราลดลง และจากการแยกเชื้อที่เป็น สาเหตุของโรคน้ำกัดเท้า ได้แก่ Trichophyton rubrum, T. mentagrophytes และ Candida species พบว่าลดลงกว่ากลุ่มยาหลอก

การศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครเกี่ยวกับผลในการต้านอักเสบบริเวณ ผิวหนัง ทําการทดสอบ ultraviolet erythema test โดยเหนียวนำให้ผิวหนังบริเวณหลังหนึ่งข้างเกิดรอยแดง (erythema) ด้วยรังสี UV และอีกข้างไม่ต้องเหนี่ยวนาด้วยรังสี UV เตรียมสารสําหรับทดสอบ ได้แก่ การใช้ Lipolotion ที่มีส่วนผสมของน้ำมันลูกผักชี 0.5% หรือ 1% เปรียบเทียบกับการใช้ Lipolotion ที่มีส่วนผสม ของ hydrocortisone 1.0% และการใช้ lipolotion ที่มีส่วนผสมของ betamethasone valerate 0.1% และกลุ่มยาหลอก ไม่ให้สารสําคัญใด ๆ

พบว่าการใช้ยาหลอกและการใช้ tipolotion ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน ลูกผักชี 1% ไม่มีผลต่อการลดการเกิดรอยแดงของผิวหนัง อย่างไรก็ตามการใช้ lipolotion ที่มีส่วนผสมของ น้ำมันลูกผักชี 0.5% มีผลต่อการลดการเกิดรอยแดงที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยรังสี UV แต่ประสิทธิภาพน้อยกว่าการ ใช้ hydrocortisone และ betamethasone valerate และจากการประเมิน skin tolerance บริเวณผิวหนัง ข้างที่ไม่ถูกเหนี่ยวนำด้วยรังสี UV พบว่าผิวหนังทนต่อการใช้ lipolotion ที่มีส่วนผสมของทั้งน้ำมันลูกผักชี 0.5% หรือ 1%

การทดสอบความปลอดภัยบริเวณผิวหนังด้วยโลชั่นและครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมัน ลูกผักชี 0.5% และ 1.0% พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของการเกิดรอยแดงในบริเวณที่ทดสอบ ไม่พบอาการไม่ พึงประสงค์ใด ๆ

การศีกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

ลูกผักชีมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ฤทธิ์ลดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และฤทธิ์ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน  ฤทธิ์ลดภาวะไขมันในเลือดสูง ฤทธิ์ป้องกันความเป็นพิษต่อเซลล์หัวใจ ฤทธิ์บรรเทาความผิดปกติของ ความจำที่เกิดจากความชรา ฤทธิ์ยับยั้งภาวะความจำเสื่อมและยับยั้งความเครียด ฤทธิ์ต้านความเป็น พิษของระบบประสาท และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมสภาพของผิวหนัง อย่างไรก็ ตาม งานวิจัยดังกล่าวเป็นเพียงการทดสอบในระดับหลอดทดลองหรือสัตว์ทดลองเท่านั้น

การทดสอบความเป็นพิษ

การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูเม้าส์ โดยให้สารสกัดน้ำ-เมทานอลของลูกผักชี พบว่ามีค่า LD5% มากกว่า 5,000 มก./กก.นน.ตัว และการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง โดยให้สารสกัดน้ำ เมทานอล ขนาด 1,000, 2,000 และ 3,000 มก./กก.นน.ตัว/วัน ผ่านทางปาก เป็นระยะเวลา 28 วัน เปรียบเทียบกับ กลุ่มควบคุมที่ได้รับ 0.5 % carboxymethyl cellulose

พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดขนาด 2,000 และ 3,000 มก./กก.นน.ตัว/วัน มีการกินอาหารลดลง การเพิ่มของนํ้าหนักลดลง และระดับไขมันลดลง เมื่อเปรียบเทียบ กับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตาม ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของค่าทางโลหิตวิทยา น้ำหนักของอวัยวะ ลักษณะทาง จุลกายวิภาคศาสตร์ และค่าดัชนีชี้วัดการถูกทำลายของอวัยวะสำคัญ (หัวใจ, ตับ และไต)

การทดสอบ ความเป็นพิษกึ่งเรื้อรังของน้ำมันลูกผักชีในหนูแรท พบว่าค่าปริมาณของสารเคมีที่มากที่สุดซึ่งได้รับทุกวันแล้ว ไม่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต่อร่างกาย (no observed effect level; NOEL) มีค่าประมาณ 160 มก./ กก.นน.ตัว น้ำมันลูกผักชีในปริมาณที่สูงมีผลทำให้เกิดรอยโรคบริเวณไต และทำให้เกิดความผิดปกติต่อเซลล์ ตับเล็กน้อย และค่าปริมาณของสารเคมีที่มากที่สุดที่ได้รับทุกวันแล้วไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษหรือผลเสียใด ๆ ต่อร่างกาย (no observed adverse effect Level; NOAEL) อยู่ที่ประมาณ 250 มก./กก.นน.ตัว

การทดสอบในหนูแรทที่ได้รับสารสกัดน้ำลูกผักชีขนาด 250 และ 500 มก./กก. ผ่านทางปาก พบว่ามีผลในการ ยับยั้งการฝังตัว และในการทดสอบระหว่างวันที่ 8 - 12 และวันที่ 12-20 ของการตั้งครรภ์ ไม่ทําให้เกิดการ แท้ง ไม่พบความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและความยาวของลูกหนูที่คลอดออกมา ไม่พบความผิดปกติของ อวัยวะ พบการลดลงของระดับฮอร์โมน progesterone ในวันที่ 5 ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการยับยั้งการฝังตัวของ การศึกษาครั้งนี้

บทสรุปส่งท้าย

ลูกผักชีเป็นสมุนไพรที่มีข้อมูลงานวิจัยที่น่าสนใจ มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นเครื่องเทศในการ ประกอบอาหารหรือใช้เป็นสมุนไพรในตำรับยาแผนโบราณ จากข้อมูลงานวิจัยต่าง ๆ เป็นข้อมูลสำหรับ การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาเป็นอาหารสุขภาพหรือยาสมุนไพร นอกจากนี้ จากคุณสมบัติกลิ่นเฉพาะตัวของ ลูกผักชี รวมทั้งข้อมูลการศึกษาทางคลินิกและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาทางด้านเครื่องสำอาง ก็อาจเป็นประโยชน์ใน การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่าง ๆ ที่มีลูกผักชีเป็นส่วนผสมต่อไป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นลัดดาวัลย์ (ลดาวัลย์) ชอบแดดไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก การขยายพันธุ์ ราคาถูก?

ต้นมั่งมี (เฉียงพร้านางแอ) มั่งมีศรีสุข ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

ต้นกระถินณรงค์ แตกต่าง กระถินเทพา ลักษณะ ข้อดี ประโยชน์ วิธีปลูก ขยายพันธุ์?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

ต้นหมันดง, ตังบี้ ลักษณะ ผลสุก รสหวาน มีเมือกเหนียว ประโยชน์ ออกดอกเดือนไหน?

✓ต้นไม้: เงี่ยงดุก (หนามเงี่ยงดุก) ลักษณะ ผลไม้กินได้ สมุนไพร?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

ผักคะนองม้า(เต่าเกียด) ลักษณะ ประโยชน์ ยอดอ่อน กินได้ เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบ?

มวนนักกล้าม แมลงศัตรูพืชตระกูลถั่ว ถั่วลิสง ถั่วแระ ถั่วฝักยาว?