บลูเบอร์รี่ ช่วยลดความดันโลหิตสูง ได้จริงไหม ประโยชน์ ราคา?
บลูเบอร์รี่ (Blueberry) คืออะไร
บลูเบอร์รี่ อยู่ในวงศ์ Ericaceae มีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่เป็นที่นิยมทางการค้า ได้แก่ สายพันธุ์บลูเบอร์รีพุ่มเตี้ย lowbush blueberry (Vaccinium angustifolium Aiton) สายพันธุ์บลูเบอร์รี่พุ่มสูง (highbush blueberry (V. corymbosum L.) สายพันธุ์บลูเบอร์รี่แรบบิตอายส์ rabbiteye blueberry (V. virgatumn Aiton), และสายพันธุ์ยูโรเปียนบิลเบอร์รี European bilberry (V. myrtillus L.) ซึ่งบลูเบอร์รี่ ได้สมญานามว่าเป็น superfruit เนื่องจากมีการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านออกซิเดชันมากมาย นอกจากนี้ยังมี การศีกษาทางคลินิกเกี่ยวกับการลดความดันโลหิตสูงด้วย
สารสำคัญ
จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผลบลูเบอร์รี่พุ่มสูงและบลูเบอร์รี่พุ่มเตี้ย ที่น้ำหนักสด 100 ก. มีปริมาณสาร กลุ่มแอนโทไซยานิน เท่ากับ 387 และ 487 มก. ตามลำดับ สารแอนโทไซยานินที่สำคัญ ได้แก่ delphinidin- 3-galactoside, delphinidin-3-glucoside
นอกจากนี้ยังมีสารกลุ่มโพรแอนโทไซยานิดิน (proanthocyanidins) ฟลาวานอล (flavonols) และสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) ซึ่งการศึกษาวิจัยทางคลินิกของบลูเบอร์รี่ที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงมีดังนี้
การศึกษาทางคลินิก
การศึกษาแบบปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย (double-blind randomized controlled trial) ในผู้ชายที่เป็นโรค เบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 52 คน อายุระหว่าง 51 - 75 ปี โดยมีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (glycated hermoglobin, HbA1c) มากกว่า 6.5 แต่น้อยกว่า 9 มก.% ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก./ตรม. แบ่ง อาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานผงบลูเบอร์รี่ฟรีซดราย ขนาด 22 ก./วัน แบ่งรับประทาน ครั้งละ 11 ก. ร่วมกับน้ำเปล่า 240 มล. วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมให้รับประทานผงหลอก ในขนาดที่เท่ากัน นาน 8 สัปดาห์
พบว่าหลังสิ้นสุดการศึกษากลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ รับประทานผงบลูเบอร์รี่ฟรีซดรายมีค่าระดับความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure: SBP) ลดลงจาก 130 + 3 เป็น 126 + 3 มม.ปรอท แต่ไม่มีผลต่อระดับความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัว (diastolic blood pressure: DBP) ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความดันโลหิตทั้ง SBP และ DBP
การศึกษาแบบสุ่มในผู้ป่วยเมตาบอลิกซินโดรมจำนวน 48 คน (ผู้ชาย 4 คน และผู้หญิง 44 คน) อายุเฉลี่ย 50 + 3 ปี ดัชนีมวลกาย 37.8 + 2.3 กก./ตรม. แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานผงบลู เบอร์รีฟรีซดราย ขนาด 50 ก. ผสมกับน้ำเปล่า 960 มล. (เทียบเท่ากับผลบลูเบอร์รี่สด 350 ก.) แบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น นาน 8 สัปดาห์
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม ให้ดื่มน้ำเปล่า ขนาด 960 มล./วัน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง เช่นกัน พบว่ากลุ่มที่รับประทานผงบลูเบอร์รี่ฟรีซดราย ค่าความดันโลหิต SBP และ DBP ลดลง 6 และ 4% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าความดันโลหิตก่อนเริ่มการศีกษา ในขณะ ที่กลุ่มควบคุมมีค่าความดันโลหิต SBP และ DBP ลดลง 1.5 และ 1.2% ตามลำดับ
การศึกษาแบบปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย (double-blind randomized controlled trial) ในผู้หญิงวัยหมด ประจำเดือน จำนวน 48 คน อายุระหว่าง 45 - 65 ปี ความดันโลหิตมากกว่า 125/85 แต่น้อยกว่า 160/90 มม.ปรอท แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานผงบลูเบอร์รี่ฟรีซดราย ขนาด 22 ก./วัน มีสาร สาร แอนโทไซยานิน และสารฟีนอลิก เท่ากับ 469.48 และ 844.58 มก. ตามลำาดับ (เทียบเท่ากับบลูเบอร์รี่สด 1 ถ้วยตวง) แบ่งรับประทานครั้งละ 11 ก. ร่วมกับน้ำเปล่า 240 มล. วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
กลุ่มที่ 2 เป็น กลุ่มควบคุมให้รับประทานผงหลอก ในขนาดที่เท่ากัน นาน 8 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับผงบลูเบอร์รี่ ฟรีซดราย ความดันโลหิต SBP และ DBP ลดลงจาก 138 + 14 เป็น 131 + 176 และ 80 + 7 เป็น 75 + 9 มม.ปรอท ตามลำดับ หรือลดลง 5.1 และ 6.3% ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อ เปรียบเทียบกับก่อนเริ่มการศึกษา ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
การศึกษาแบบสุ่มและปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และเป็นโรคอ้วน จำนวน 115 คน ทั้งเพศ ชายและหญิง อายุระหว่าง 50 - 75 ปี ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 25.8 - 39.6 กก./ตรม. แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 และ 2 ให้รับประทานบลูเบอร์รี่สด ขนาด 150 ก. และ 75 ก. (เทียบเท่ากับผงบลูเบอร์รี่ฟรีซดราย 26 และ 13 ก. ซึ่งมีสารแอนโทไซยานิน เท่ากับ 364 และ 182 มก., สารฟีนอลิก เท่ากับ 879 และ 439 มก. ตามลำดับ) กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มควบคุมให้รับประทานผงหลอก ขนาด 26 ก. (ไม่มีสารแอนโทไซยานินและฟื้นอ ลิก) นาน 6 เดือน
พบว่ากลุ่มที่รับประทานบลูเบอร์รี่สดขนาด 150 ก. ระดับ SBP ลดลงจาก 136 เป็น 134 มม.ปรอท เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการศึกษา ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับประทานบลูเบอร์รี่สดขนาด 75 ก. ความดันโลหิต SBP ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนความดันโลหิต DBP ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกกลุ่ม ซึ่งจาก การศึกษาในครั้งนี้สรุปว่า การรับประทานบลูเบอร์รี่สดขนาด 75 และ 150 ก./วัน นาน 6 เดือน ไม่สามารถลด ความดันโลหิต SBP และ DBP ได้ในผู้ที่เป็นโรคอ้วน
การศึกษาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
การศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน อายุระหว่าง 30 - 60 ปี ความดันโลหิต SBP อยู่ ในช่วง 140 - 179 มม.ปรอท ความดันโลหิต DBP อยู่ในช่วง 90 - 109 มม.ปรอท ให้ผู้ป่วยทุกคน รับประทานบลูเบอร์รี่สด หรือปั่นละเอียด ขนาด 100 ก. วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารมื้อกลางวัน หรือหลังจาก การรับประทานอาหารเช้าอย่างน้อย 6 ซม. นาน 2 เดือน พบว่าระดับความดันโลหิต SBP ลดลงจาก 134.68 + 2.15 เป็น 127.56 + 1.83 มม.ปรอท และระดับความดันโลหิต DBP ลดลงจาก 93.58 + 2.34 เป็น 87.66 + 1.61 มม.ปรอท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการศึกษา
การศึกษาแบบสุ่มใน หญิงวัยหมดประจําเดือน และผู้ชาย อายุระหว่าง 18 - 50 ปี ความดันโลหิตเริ่มสูง มากกว่า 120/80 มม. ปรอท จำนวน 25 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 รับประทานผงบลูเบอร์รี่ฟรีซดราย ขนาด 38. ก./วัน (เทียบเท่ากับบลูเบอร์รี่แห้ง 250 ก.) กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม รับประทานผงหลอก ในขนาดที่เท่ากัน นาน 6 สัปดาห์
พบว่ากลุ่มที่ได้รับผงบลูเบอร์รี่ฟรีซดราย ความดันโลหิต SBP ลดลงจาก 117.23 + 7.85 เป็น 114.15 + 11.47 มม.ปรอท ความดันโลหิต DBP ลดลงจาก 74.61 + 11.46 เป็น 73.07 + 5.8 มม.ปรอท และความดันโลหิตหลอดเลือดแดงใหญ่ช่วงหัวใจบีบตัว (aortic systolic pressure: ASP) ลดลงจาก 112.4 ± 10.2 เป็น 101.5 ± 7.1 มม.ปรอท ในขณะที่กลุ่มควบคุมระดับความดันโลหิต SBP และ ASP ลดลงเล็กน้อย และ DBP สูงขึ้น
บทสรุปส่งท้าย
จากการศึกษาทั้งหมดของบลูเบอร์รี่สรุปได้ว่า การรับประทานผงบลูเบอร์รี่ฟรีซดราย ขนาด 22 ก./วัน หรือขนาด 38 ก./วัน และการรับประทานบลูเบอร์รี่สด หรือปั่นละเอียดขนาด 100 ก./วัน นาน 6 - 8 สัปดาห์ มีผลลดระดับความดันโลหิต SBP และ DBP ได้
อย่างไรก็ตามการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิต สูงนอกจากจะควบคุมเรื่องอาหารแล้ว ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด การควบคุมน้ำหนัก และการออก กำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้