ปลูกผักสวนครัวในกระถาง ไว้กินเองได้ สำหรับคนมีพื้นที่น้อย?

ผักสวนครัว ปลูกง่ายกว่าที่คิด!

ผักสวนครัว ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่อยากตกแต่งบ้าน และสวนในบริเวณบ้าน ให้ได้ประโยชน์มากกว่าพื้นที่สีเขียวสวย ๆ เพราะการปลูกผักสวนครัว ไว้ในบ้านนั้นมีประโยชน์มากมาย

ปลูกผักสวนครัวในกระถาง ไว้กินเอง

โดยเฉพาะกับคนที่ชอบการทำอาหารและคนรักสุขภาพ ที่การปลูกผักไว้รับประทานเอง จะช่วยลดโอกาสการบริโภคผักที่มีสารปนเปื้อน และช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนได้อีกทางหนึ่ง เราจึงได้รวบรวมเคล็ดลับ ปลูกผักสวนครัวให้สวยพร้อมเสิร์ฟมาฝากกัน!

รายละเอียดเพิ่มเติม

ประโยชน์ของการปลูกผักกินเองที่บ้าน

อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า การปลูกผักสวนครัวไว้ในบ้านนั้น จะช่วยให้ทุกคนในบ้านได้รับประทานผักปลอดสารพิษที่มั่นใจได้ว่า ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพสุด ๆ

แถมยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผัก จากแหล่งอื่นมาประกอบอาหาร ซึ่งเราไม่รู้เลยว่าผักที่มีวางขายอยู่ทั่วไปนั้น มีการใช้สารเคมีหรือมีการปนเปื้อนมากมายแค่ไหน

การทำสวนในบ้านจึงเป็นทางเลือกที่ดีมาก ๆ ของคนรักสุขภาพและต้องการลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ที่สำคัญคือ หากเลือกปลูกผักให้ถูกประเภท ก็จะมีผักตามฤดูกาลให้ได้รับประทานกันตลอดทั้งปี

นอกจากนี้การปลูกผักสวนครัว ยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยสานสัมพันธ์กันภายในครอบครัว และยังช่วยให้บ้านมีพื้นที่สีเขียวที่ทั้งสวยทั้งอร่อยด้วย!

ปลูกผักแบบผสมผสาน จะมีผักกินทั้งปี

สำหรับใครที่เริ่มสนใจอยากลองปลูกผักสวนครัวไว้เพื่อรับประทานเองในบ้าน แนะนำเลยว่าให้เลือกปลูกผักแบบหมุนเวียนและผสมผสาน ซื่งก็หมายถึงการปลูกผักที่หลากหลายประเภทพร้อม ๆ กันไปเลย ซึ่งประเภทของผักสวนครัวก็จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท นั่นคือ

  1. ผักสวนครัวที่ใช้ใบทำอาหาร
    เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง กะหล่ำปลี ผักกาด เป็นต้น
  2. ผักสวนครัวที่ใช้ผลทำอาหาร
    เช่น พริก มะเขีอ มะเขือเทศ บวบ มะระ เป็นต้น
  3. ผักสวนครัวที่ต้องใช้รากทำอาหาร
    เช่น มัน เผือก ขิง หัวไชเท้า เป็นต้น
  4. ผักสวนครัวที่เป็นพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ
    เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วพู เป็นต้น

ผักทั้ง 4 ประเภทที่กล่าวมานี้ เป็นผักสวนครัวที่สามารถปลูกร่วมกันได้ภายในบ้านหรือภายในแปลงปลูกแบบหมุนเวียนและผสมผสานทุกประเภทและทุกฤดูกาล

ซึ่งประโยชน์ของการปลูกผักในลักษณะนี้ จะทำให้มีผักไว้รับประทานตลอดทั้งปี โดยควรเน้นปลูกผักให้มีระยะชิดกันเพื่อช่วยรักษาความชื้นในแปลงปลูก พร้อมทั้งช่วยให้ใช้พื้นที่สวนได้อย่างคุ้มค่า

นอกจากนี้ การปลูกพืชหมุนเวียนแบบสลับกัน ยังช่วยลดปัญหาดินปลูกเสื่อมสภาพมากกว่าการปลูกผักชนิดเดียวกันทั้งแปลง นั่นก็เพราะผักแต่ละชนิดจะมีระบบรากแตกต่างกัน ทำให้การดูดซึมธาตุอาหารจากดินแตกต่างกัน แถมยังช่วยลดปัญหาแมลงและโรคของผักได้ด้วย

มีพื้นที่น้อย ก็ปลูกผักในกระถางได้นะ

หลายคนยังเข้าใจผิดว่าการปลูกผักสวนครัว หรือการปลูกผักไว้รับประทานเองนั้น ต้องมีพื้นที่กว้างภายในบ้าน แต่แท้จริงแล้ว บ้านที่มีพื้นที่ไม่มาก หรือที่พักอาศัยที่มีพื้นที่จำกัดอย่างคอนโดมิเนียม หรือหอพักต่าง ๆ ก็สามารถปลูกผักได้

ซึ่งหนึ่งในทางเลือกที่ดีคือการ "ปลูกผักในกระถาง" นั่นเอง ซึ่งจะจัดเรียงแนวราบ หรือจัดเป็นสวนผักแนวตั้งเพื่อช่วยประหยัดพื้นที่ก็ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ การปลูกผักในกระถางนั้น จำเป็นต้องเลือกทั้งประเภทพืชผักและประเภทกระถาง ให้เหมาะสมกันด้วย ซึ่งกระถางสำหรับปลูกผักโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภท ซื่งจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน

  1. กระถางดินเผา ให้ความสวยงามและระบายอากาศได้ดี ทำให้ดินแห้งเร็ว มีน้ำหนักมากและเคลื่อนย้ายยาก
  2. กระถางพลาสติก น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก สามารถเก็บกักน้ำได้ดี แต่จะระบายอากาศได้ไม่ดีนัก

ด้วยความแตกต่างกันแบบนี้ การเลือกประเภทของกระถางให้เหมาะกับผักที่จะปลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญ รวมไปถึงเรื่องของขนาดกระถางที่ใช้ด้วย

โดยผักที่มีระบบรากตื้นถึงปานกลาง แนะนำให้เลือกใช้กระถางที่มีความลึกอย่างน้อย 30 ซ.ม. ส่วนผักที่มีระบบรากลึกหรือผักแบบที่ใช้หัวใต้ดินมาทำอาหาร แนะนำให้เลือกใช้กระถางที่มีความลึกอย่างน้อย 50 ซ.ม. ขึ้นไป

และไม่ว่าจะเลือกใช้กระถางประเภทไหน ก็ควรใช้จานรองกระถางด้วยเสมอ เพราะการใช้จานรองกระถางจะมีส่วนช่วยให้ดินชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา เป็นการลดปัญหาผักขาดน้ำสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลารดน้ำผักทุกวัน

เคล็ดลับการเตรียมดินปลูกผักสวนครัว

1. การเตรียมดินปลูก สำหรับแปลงผัก

สำหรับการปลูกผักสวนครัว ในแปลงผักหรือสวน คุณภาพของดินจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพการเจริญเติบโตของผัก ในกรณีที่ดินไม่สมบูรณ์หรือเป็นการปลูกผักครั้งแรก แนะนำให้เตรียมดินด้วยวิธีพลิกหน้าดินโดยยกแปลงดินให้สูงประมาณ 30 ซ.ม ตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์

จากนั้นจึงใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกผสมเข้าไปในปริมาณ 2 ก.ก. ต่อ 1 ตร.ม. รดน้ำตามให้ชุมแล้วตากดินทิ้งไว้อีกประมาณ 3-5 วัน ก็จะได้ดินอดมสมบูรณ์พร้อมปลูกผักแล้ว

2. การเตรียมดินปลูก สำหรับปลูกผักในกระถาง

การปลูกผักสวนครัวในกระถาง จะมีความแตกต่างในการเตรียมดินจากการปลูกผักในสวนหรือในแปลงที่ต้องเน้นคุณภาพของดินปลูก เพราะการปลูกผักในกระถางนั้น ต้องเน้นการผสมดินให้เป็นดินปลูกที่มีความสามารถในการระบายน้ำได้ดี

ซึ่งดินแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติแตกต่างกัน และมีวิธีการเตรียมดินเพื่อเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำที่แตกต่างกันดังนี้

2.1 ดินร่วน

ดินร่วนเป็นดินที่มีคุณสมบัติในการระบายน้ำได้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว ดังนั้นแค่นำดินร่วนมาผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกในอัตราส่วน 1 : 1 เพื่อเพิ่มสารอาหารที่จำเป็นให้ดิน เพียงเท่านี้ก็เพียงพอสำหรับการปลูกผักในกระถางแล้ว

2.2 ดินเหนียว

ดินเหนียวเป็นดินที่มีคุณสมบัติเรื่องการอุ้มน้ำ สามารถอุ้มน้ำได้มาก การเตรียมดินเหนียวจึงต้องเพิ่มส่วนผสมที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำอย่างทรายและแกลบเผา โดยผสมในอัตรา 1 : 1 : 1 ส่วนเท่า ๆ กัน จะช่วยให้ดินเหนียวสามารถระบายน้ำได้ดีขึ้นและพร้อมสำหรับการปลูกผักในกระถาง

2.3 ดินปลูกสำเร็จรูป

ดินปลูกสำเร็จรูปนั้นมีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งก็มีให้เลือกมากมายหลายสูตร

แต่สำหรับดินปลูกสำเร็จรูปที่เหมาะกับการปลูกผักในกระถางนั้น แนะนำให้เลือกใช้ดินปลูกที่มีส่วนผสมของขุยไผ่หรือใบก้ามปู ซึ่งเป็นส่วนผสมของดินที่ดีสำหรับปลูกผักในกระถาง โดยไม่ต้องใส่ส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มเติมให้ยุ่งยากอีก

วิธีการเพาะต้นกล้าผักสวนครัว

สำหรับมือใหม่ที่เริ่มต้นปลูกผักจากเมล็ดพันธุ์นั้น ต้องเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะต้นกล้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน แต่รับรองเลยว่าไม่ยากเกินความสามารถของทุกคนแน่นอน ซึ่งมี 2 วิธีที่เลือกมาแนะนำกัน

1. วิธีเพาะกล้าผักแบบหว่านลงแปลงปลูก

  1. เตรียมดินปลูกให้พร้อมแล้วใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะเหมือนไม้บรรทัดหรือไม้ไอศกรีมมาทำร่องดินเป็นแถว โดยกะความลึกโดยประมาณให้อยู่ที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเมล็ดผักคูณสอง หรือลึกประมาณ 1 ซ.ม.
  2. หยอดเมล็ดพันธุ์ลงในร่องปลูก
  3. โรยดินที่ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกทับลงบนร่องปลูก
  4. คลุมอีกชั้นด้วยฟางหรือเศษหญ้า
  5. รดน้ำให้ชุ่ม และรดน้ำช่วงเช้าและเย็นเป็นประจำทุกวัน
  6. ประมาณ 1 สัปดาห์เมล็ดพันธุ์จะกลายเป็นต้นกล้าที่มีใบเลี้ยงขึ้นมาก่อน ให้รอจนกล้าผักมีใบจริง 3-5 ใบ จึงค่อยจัดต้นกล้าให้เว้นระยะห่างกันตามชนิดของผักที่ปลูก

2. วิธีเพาะกล้าผักเพื่อย้ายปลูก

  1. เตรียมดินปลูกใส่ตะกร้า หรือใส่ถาดเพาะกล้าให้พร้อม
  2. หยอดเมล็ดพันธุ์ลงในถาดเพาะกล้าที่เตรียมดินไว้แล้ว
  3. โรยดินที่ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกทับลงในถาดเพาะกล้าให้มีความหนาประมาณ 1 ซ.ม.
  4. คลุมอีกชั้นด้วยฟางหรือเศษหญ้า
  5. รดน้ำให้ชุ่ม และรดน้ำช่วงเช้าและเย็นเป็นประจำทุกวัน
  6. ประมาณ 1 สัปดาห์เมล็ดพันธุ์จะกลายเป็นต้นกล้าที่มีใบเลี้ยงขึ้นมาก่อน ให้รอจนกล้าผักมีใบจริง 3-5 ใบ จึงค่อยย้ายต้นกล้าลงในแปลงปลูก โดยการย้ายให้ทำอย่างเบามือและระมัดระวัง และควรจัดการย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูกในช่วงเย็นของวัน

สำหรับใครที่อยากเพาะต้นกล้าเพื่อปลูกในกระถาง ก็สามารถใช้วิธีเดียวกันกับการเพาะกล้าเพื่อย้ายปลูกได้เลย เพียงแต่ในขั้นตอนสุดท้ายเมื่อต้นกล้ามีใบจริง 3-5 ใบแล้ว แทนที่จะย้ายต้นกล้าก็ให้เลือกถอนต้นกล้าที่ไม่แข็งแรงออกไปแทน ให้เหลือเพียงพอ

ส่วนอุปกรณ์ปลูกผักสวนครัว ที่จำเป็นต้องใช้เบื้องต้น ก็ได้แก่ จอบ เสียม พลั่ว คราดพรวนดิน บัวรดน้ำ ถาดเพาะกล้า และถุงมือสำหรับงานเกษตร ซี่งเป็นอุปกรณ์เกษตรพื้นฐานทั่วไปที่มักมีติดบ้านกันอยู่แล้วนั่นเอง

แต่หากใครยังไม่มีกระถางปลูกผักสวนครัว และอุปกรณ์ปลูกผัก อุปกรณ์แต่งสวน อุปกรณ์ทำสวน ปลูกต้นไม้ต่าง ๆ ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะสามารถเลือกซื้อทางออนไลน์ได้ง่าย ๆ ราคาเบา ๆ ...

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นลัดดาวัลย์ (ลดาวัลย์) ชอบแดดไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก การขยายพันธุ์ ราคาถูก?

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

สตาร์เกิลจี วิธีใช้ยังไง ช่วยอะไร อันตรายไหม ซื้อที่ไหน ราคาถูก

มวนนักกล้าม แมลงศัตรูพืชตระกูลถั่ว ถั่วลิสง ถั่วแระ ถั่วฝักยาว?

ต้นบอนในสกุล อโลคาเซีย Alocasia ของไทยมีกี่ชนิด ลักษณะแตกต่างกัน อะไรบ้าง?

✓ต้นไม้: 'ไคร้น้ำ' ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางยา สมุนไพร?

ต้นกระถินณรงค์ แตกต่าง กระถินเทพา ลักษณะ ข้อดี ประโยชน์ วิธีปลูก ขยายพันธุ์?