✓ต้นไม้: เงี่ยงดุก (หนามเงี่ยงดุก) ลักษณะ ผลไม้กินได้ สมุนไพร?

เงี่ยงดุก (หนามเงี่ยงดุก)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์)

เงี่ยงดุก ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Canthium berberidifolium E.T.Geddes จัดเป็นพืชในสกุล Canthium อยู่ในวงศ์เข็ม (Rubiaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร

ชื่อไทย

ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า เงี่ยงดุก (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

ต้นไม้: เงี่ยงดุก (หนามเงี่ยงดุก) ลักษณะ ผลไม้กินได้ สมุนไพร Canthium berberidifolium

ต้นเงี่ยงดุก มีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า - และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า เงี่ยงดุก หนามเงี่ยงดุก หนามปลาดุก (นครราชสีมา, ขอนแก่น, ร้อยเอ็ด, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี), หนามแท่งน้อย (ภูไท-อ.พรรณานิคม สกลนคร), หนามก๊นไก่ (ไทญ้อ-อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม)

รายละเอียดเพิ่มเติม

นิเวศวิทยา

ต้นเงี่ยงดุก ในประเทศไทยพบขึ้นตามชายป่าดงดิบแล้งและป่าเบญจพรรณที่อยู่ในเขตที่ราบน้ำท่วมถึง และในป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 300 ม.

การกระจายพันธุ์

การกระจายพันธุ์ของเงี่ยงดุก ในไทย พบได้ทั่วไป ในภาคตะวันออก ภาคกลาง สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบทั่วไป แต่ไม่พบในลุ่มน้ำโมง ต่างประเทศพบที่กัมพูชา

เงี่ยงดุก ออกดอกเดือนไหน

ต้นเงี่ยงดุก ออกดอกช่วงเดือนเมษายน - กรกฎาคม ผลแก่เดือนมิถุนายน - กันยายน

ต้นไม้: เงี่ยงดุก (หนามเงี่ยงดุก) ลักษณะ ผลไม้กินได้ สมุนไพร Canthium berberidifolium

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเงี่ยงดุก

  • ลักษณะวิสัย: ไม้พุ่ม สูง 1-2 ม.
  • ลำต้น: กิ่งมีขนสั้นและมีหนามแหลมคมออกเป็นคู่ตามซอกใบ/ข้อ ยาว 0.5-3 ซม. กิ่งโน้มลง
  • ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปกลม-ไข่กลับ ยาว 1-2 ซม. ปลายใบกลม-เว้าตื้น โคนใบมน-แหลม มีเส้นแขนงใบข้างละ 3-4 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกัน ผิวใบด้านบนเกลี้ยงมันเงา มีรอยกดเป็นร่องตามแนวเส้นแขนงใบ ด้านล่างมีขนประปราย-เกลี้ยง ก้านใบยาว 1-2 มม.
  • ดอก: ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ มี 1-3 ดอก/กระจุก ดอกขนาดเล็ก เมื่อบานกว้าง 8-10 มม. กลีบเลี้ยงยาว 1.5 มม. ปลายหยักเป็นแฉกตื้นๆ 5 แฉก เกลี้ยง-ขนประปราย กลีบดอกสีเหลืองอ่อน-ขาว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก รูปไข่ ยาว 3-4 มม. ปลายเรียวแหลม ก้านดอกยาว 2 มม.
  • ผล: ผลค่อนข้างกลม แบนด้านข้างเล็กน้อย กว้าง 0.8-1 ซม. ปลายมีกลีบเลี้ยงติดคงทน ผิวเกลี้ยงมันเงา เมื่อสุกสีส้ม-แดง มี 2 เมล็ด

ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ของเงี่ยงดุก สามารถนำมาเป็นอาหาร ผลสุก สีส้ม-แดง รสเปรี้ยวอมหวาน กินเป็นผลไม้ และเป็นอาหารนก

สรรพคุณทางสมุนไพร

ตำรับ ยารักษาแผลเบาหวาน/แผลอักเสบเรื้อรัง รักษาแผลเบาหวาน หรือแผลอักเสบเรื้อรัง

อ้างอิง: มานพ ผู้พัฒน์, ปรีชา การะเกตุ, ขวัญใจ คำมงคล และศรัณย์ จิระกร. 2561. ป่าบุ่งป่าทาม ภาคอีสาน. สำนักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นลัดดาวัลย์ (ลดาวัลย์) ชอบแดดไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก การขยายพันธุ์ ราคาถูก?

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

ต้นหมันดง, ตังบี้ ลักษณะ ผลสุก รสหวาน มีเมือกเหนียว ประโยชน์ ออกดอกเดือนไหน?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

สตาร์เกิลจี วิธีใช้ยังไง ช่วยอะไร อันตรายไหม ซื้อที่ไหน ราคาถูก

มวนนักกล้าม แมลงศัตรูพืชตระกูลถั่ว ถั่วลิสง ถั่วแระ ถั่วฝักยาว?

✓กล้วยแต่ละสายพันธุ์ ชนิดต่างๆ ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ?

ราสนิม ลีลาวดี อันตรายไหม? สาเหตุ แพร่ระบาด วิธีแก้ รักษา ป้องกัน กำจัดราสนิม?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?