✓ต้นไม้: คางแมว (ช้องแมว) ลักษณะ การใช้ประโยชน์ สรรพคุณ?
คางแมว (ช้องแมว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์)
คางแมว (ช้องแมว) ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Gmelina asiatica L. จัดเป็นพืชในสกุล Gmelina อยู่ในวงศ์กะเพรา (Lamiaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร
ชื่อพ้อง (Synonyms)
- Bignonia discolor A.Rich.
- Bignonia moluccana DC.
- Gmelina asiatica f. lobata Moldenke
- Gmelina asiatica f. parvifolia (Roxb.) Moldenke
- Gmelina attenuata H.R.Fletcher
- Gmelina lobata Gaertn.
- Gmelina paniculata H.R.Fletcher
- Gmelina parvifolia Roxb.
- Premna parvifolia Roth
ชื่อไทย
ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า คางแมว (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)
ต้นคางแมว มีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า Oval-leaf Gmelina, Badhara bush, Asiatic beechberry, Asian bushbeech และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า คางแมว (ภาคกลาง), หนามหนวดแมว (อ.ชุมพวง นครราชสีมา), นมแมว (อ.เมืองยาง นครราชสีมา), ก้างปลา (อ.กันทรารมย์ ศรีสะเกษ, อ.บ้านดุง อุดรธานี), ก้านจาง หนามเล็บแมว (อ.ศรีสงคราม นครพนม), ช้องแมว ซ้องแมว (สกลนคร), กันจาย กันจาง (ส่วย-อ.ท่าตูม สุรินทร์)
นิเวศวิทยา
ต้นคางแมว (ช้องแมว) ในประเทศไทยพบขึ้นตามที่โล่งแจ้งหรือชายป่า ป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ หรือป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 500 ม.
การกระจายพันธุ์
การกระจายพันธุ์ของคางแมว (ช้องแมว) ในไทยพบได้ง่ายทั่วประเทศ ต่างประเทศพบในภูมิภาคเอเชียใต้ จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คางแมว (ช้องแมว) ออกดอกเดือนไหน
ต้นคางแมว (ช้องแมว) ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน ผลแก่เดือนพฤษภาคม - กันยายน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของคางแมว (ช้องแมว)
- ลักษณะวิสัย: ไม้พุ่มหรือรอเลื้อย สูงถึง 10 ม.
- ลำต้น: กิ่งแก่และโคนต้นมีหนามที่เกิดจากกิ่งเก่า (ต้นอายุน้อยขอบใบหยักลึกเป็น 3 แฉก)
- ใบ: ใบค่อนข้างคล้ายกับต้น ตีนซิ่นเหี้ยน (Glossocarya crenata) มีความแตกต่างที่โคนใบของช้องแมวมักจะเป็นรูปลิ่มหรือแหลม และมีต่อมสีเขียวอ่อน 1-5 จุด เห็นชัดที่ผิวใบด้านบนใกล้โคนใบ
- ดอก: ช่อดอกแบบกระจุก ยาว 2-4 ซม. มี 1-10 ดอก ที่กลีบเลี้ยงมีต่อมกลมนูนชัดเจน 2-5 ต่อม กลีบดอกสีเหลือง รูประฆัง ยาว 3-5 ซม. ปลายแยก 4 แฉก
- ผล: ผลเป็นรูปค่อนข้างกลม กว้าง 2-3 ซม. ผิวเรียบ เกลี้ยง มันเงา มีช่องอากาศสีขาวกระจายทั่ว มีกลีบเลี้ยงติดคงทน ผลแก่ไม่แตก เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง-ดำ เนื้อนิ่ม มีเมล็ดเดียว เนื้อแข็ง (ตีนซิ่นเหี้ยน โคนใบมักจะเว้ารูปหัวใจ ไม่พบต่อมสีเขียวอ่อน ช่อดอกมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก สีขาว ที่โคนกลีบเลี้ยงไม่มีต่อมกลมนูนใส และผลมีขนาดเล็กกว่ามาก เมื่อแก่แห้งแตก)
ประโยชน์
การใช้ประโยชน์ของคางแมว (ช้องแมว) สามารถนำมาเป็นสมุนไพร
- เปลือก: ตากแห้ง ต้มน้ำดื่มหรือกินเปลือกสดกับข้าวทุกวัน ใช้กับหญิงมีครรภ์เป็นยาช่วยให้คลอดลูกง่าย
- ราก: ตากแห้งแล้วต้มน้ำดื่มแก้กินผิดสำแดง/ของแสลง
- เนื้อผลสด: รักษาน้ำกัดเท้า
- ผลสด: รักษาโรคผิวหนัง, ใบสดหรือแห้ง : สมานบาดแผล แก้ปวด แก้บวม
- ตำรับ: ยาบำรุงน้ำนม บำรุงน้ำนม
- ตำรับ: ยาบำรุงน้ำนม บำรุงน้ำนม ช่วยขับน้ำนม
การใช้ประโยชน์ในด้านการใช้เป็นวัสดุ เนื่องจากเนื้อไม้แข็งแรง ปลวกไม่กิน ใช้ทำเป็นแกนตับหญ้ามุงหลังคา หรือทำเป็นกงสวิง ลอบ ไซ และลักษณะพุ่มของเถาและกิ่งเป็นที่อยู่อาศัยและหลบภัยของปลาในฤดูน้ำหลาก เนื่องจากความรก ระเกะระกะ จึงไม่สามารถหว่านแหหรือเข้าไปวางตาข่ายจับปลาได้