✓ต้นไม้: 'ว่านค้างคาวดำ' ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ สมุนไพร?
ว่านค้างคาวดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์
ว่านค้างคาวดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Tacca chantrieri André อยู่ในสกุล Tacca จัดอยู่ในวงศ์ Dioscoreaceae ว่านค้างคาวดำ เป็นพันธุ์พืชที่เราจัดไว้ในกลุ่มพืชสมุนไพร
ชื่อสกุล Tacca มาจากภาษาพื้นเมืองในอินโดนีเซียคำว่า taka laoet ที่ใช้เรียก ท้าวยายม่อม (Tacca leontopetaloides Kuntze) พืชสกุลนี้เดิมอยู่ในวงศ์ TACCACEAE ทั่วโลกพบ 18 ชนิด ในไทยพบอย่างน้อย 5 ชนิด
ชื่อพ้อง (Synonyms)
Photo by Natureman Thaimountain
- Schizocapsa breviscapa (Ostenf.) H.Limpr.
- Schizocapsa itagakii Yamam.
- Tacca esquirolii (H.Lév.) Rehder
- Tacca garrettii Craib
- Tacca macrantha H.Limpr.
- Tacca minor Ridl.
- Tacca paxiana H.Limpr.
- Tacca roxburghii H.Limpr.
- Tacca vespertilio Ridl.
- Tacca wilsonii H.Limpr.
- Clerodendrum esquirolii H.Lév.
ชื่อไทย
ชื่อทางการของพืชชนิดนี้ (อ้างอิงจาก ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557) มีชื่อไทยว่า เนระพูสีไทย ในสารานุกรมพืชในประเทศไทย ชื่อว่า ว่านค้างคาว
และมีชื่ออื่น (ชื่อพื้นเมือง, ชื่อท้องถิ่น) ว่า ค้างคาวใหญ่; ดีงูหว้า(ภาคเหนือ) ; บีเมย(ภูไท-นครพนม) ; ดีปลาช่อน(ตราด) ; คลุ้มเลีย , ว่านหัวลา , ว่านหัวเสีย(จันทบุรี) ; ค้างคาวดำ , เนระพูสีไทย , มังกรดำ , ว่านค้างคาว(กทม.) ; หมากแฟล(ภาคใต้) ; ม้าถอนหลัก(ชุมพร) ; นิลพูสี(ตรัง) ; กลาดีกลามูยี(มลายู-ปัตตานี) ; ว่านพังพอน(ยะลา) ; ละเบ๊าะบูเก๊ะ(มลายู-ยะลา)
ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษว่า Bat flower, Cat’s whiskers
ถิ่นอาศัย
ต้นว่านค้างคาวดำ ในประเทศไทย พบขึ้นตามที่ร่ม-มีแสงรำไร ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ที่ชื้นแฉะหรือใกล้ริมลำธารตามป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้งที่มีความสูงจากระดับทะเลฯไม่เกิน 1,000 เมตร ทั่วทุกภาค โดยพบมากทางภาคใต้
การแพร่กระจายพันธุ์ว่านค้างคาวดำ
ต้นว่านค้างคาวดำ แพร่กระจายในอินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ ทิเบต จีน เมียนมา ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) และมาเลเซีย
Photo by Natureman Thaimountain
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของว่านค้างคาวดำ
- ลักษณะวิสัย: ไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี
- ลำต้น: มีเหง้าอยู่ใต้ดิน
- ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว รูปวงรี หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก
- ดอก: ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่มตามซอกใบ 1-3 ช่อๆละ 4-6 ดอก หรือมากกว่า 20 ดอก แต่มักจะทยอยออกดอกบานทีละ 1-2 ดอก รูปดอกคล้ายค้างคาวกำลังกางปีกบิน ดอกจะบานในช่วงเวลากลางคืน แต่ละดอกใช้เวลากว่าจะบานเต็มที่ราว 7-10 วัน มีกลิ่นสาบเฉพาะตัว ดอกสีม่วงแกมเขียวถึงสีม่วงดำ ดอกเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น6กลีบ เรียงเป็น2วง รูปใบหอก เกสรตัวผู้เป็นเส้นเรียวยาวคล้ายหนวด 8-10 เส้น ใบประดับขนาดใหญ่ 2 คู่ ดูคล้ายปีกค้างคาว สีเขียวอมขาว สีเขียวอ่อนอมม่วง จนถึงสีม่วงดำ เรียงตั้งฉากกัน ใบประดับคู่นอกรูปรี รูปใบหอก หรือรูปขอบขนาน ส่วนใบประดับคู่ในรูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ใบประดับย่อยรูปเส้นด้าย 5-25 อัน สีอ่อนกว่า ออกดอกตลอดปี แต่มีมากในราวเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนกันยายน
- ผล: ผลรูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม สีน้ำตาลอมม่วง มีสันเป็นคลื่นตามยาว6สัน มีหลายเมล็ด ลักษณะเมล็ด รูปคล้ายไต
ประโยชน์ สรรพคุณทางยา สมุนไพร
- หัว : ใช้เป็นยาเดี่ยวหรือเข้ายาแก้ไข้ แก้ซาง
- ทั้งต้น : ขับปัสสาวะ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด แก้ไอเรื้อรัง แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้อ่อนเพลีย เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน รักษากามโรค รักษาโรคบุรุษ ทำให้เกิดความกำหนัด เป็นยาคุมสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ ๆ เป็นยาบำรุง ขับระดู ทำให้มดลูกบีบตัว (ไม่ควรใช้กับหญิงมีครรภ์)
- เหง้า : บำรุงกำหนัด บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร
- ตำรับ ยาแก้ไข้เด็กตัวร้อน รักษาอาการไข้ ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ำ แก้พิษไข้ หืด/หัด อีสุกอีไส อีดำอีแดง
- ตำรับ ยาแก้ไข้ตัวร้อนในเด็กเล็กและมีอาการท้องเสียหรือสำรอก แก้ไข้ตัวร้อนในเด็กเล็กและมีอาการท้องเสียหรือสำรอก
- ตำรับ ยาแก้ไข้และมีอาการท้องเสีย รักษาอาการไข้ที่มีอาการท้องเสียด้วย
- ตำรับ ยาแก้คัน แก้อาการคันตามผิวหนัง
- ตำรับ ยาแก้ท้องเสียแบบมีไข้ แก้ท้องเสียแบบมีไข้ อาหารเป็นพิษ
- ตำรับ ยาเขียวหอม แก้ไข้ ตัวร้อน ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษไข้หัด ไข้เหือด (หัดเยอรมัน) ไข้อีสุกอีใส
- ตำรับ ยาบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงกำลัง
อ้างอิง: Natureman Thaimountain, Forest Botany Division (BKF), Plants of the World Online (POWO)