✓ไวรัส ไวรอยด์ Viroid เชื้อสาเหตุโรคพืชที่เล็กที่สุดแต่ร้ายกาจ?
เชื้อไวรอยด์ (Viroid) เป็นเชื้อสาเหตุโรคพืชที่มีขนาดเล็กที่สุด และมีขนาดเล็กกว่าเชื้อไวรัส ลักษณะอาการที่เกิดจากไวรอยด์ส่วนใหญ่จะ คล้ายคลึงกับอาการที่เกิดจากไวรัส เช่น อาการแคระ แกร็น อาการผิดรูปและลดขนาดของใบ ก้านใบ ดอก และผล จนไปถึงไม่แสดงอาการผิดปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ของไวรอยด์และพืชอาศัย รวมถึงสิ่งแวดล้อมขณะนั้นด้วย
ไวรอยด์ (Viroid) เชื้อสาเหตุโรคพืชที่เล็กที่สุดแต่ร้ายกาจ
ไวรอยด์ (Viroid) เป็นเชื้อสาเหตุโรคพืชที่มีขนาดเล็กที่สุด และมีขนาดเล็กกว่าเชื้อไวรัส ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) รวมถึงองค์ประกอบเซลล์ (cell organelle) ที่จำเป็นในขั้นพื้นฐานสำหรับสิ่งมีชีวิต เช่น ไรโบโซม (ribosome)
ซึ่งมีหน้าที่ในการสังเคราะห์โปรตีนให้กับเซลล์สิ่งมีชีวิต และเนื่องจากองค์ประกอบพื้นฐานที่ไม่เป็นเซลล์ ของทั้งไวรอยด์และไวรัส จึงทำให้เชื้อทั้งสองชนิดมีคุณลักษณะเป็น “ปรสิตถาวร" (obligate parasite) ที่จะเพิ่มปริมาณ ตัวเอง มีการก่อให้เกิดโรคหรือแสดงอาการผิดปกติ
รวมถึงแสดงคุณสมบัติความเป็นสิ่งมีชีวิตได้ก็ต่อเมื่อไวรอยด์ นั้นจะต้องติดเชื้อ (infection) อยู่ภายในเซลล์เจ้าบ้าน (host cell) แล้วเท่านั้น หากอยู่ภายนอกเซลล์โฮสต์ไม่ว่าจะ เป็นบนพื้นผิววัสดุต่าง ๆ หรือในสิ่งแวดล้อม ไวรอยด์จะไม่มีกิจกรรมหรือแสดงคุณสมบัติของความเป็นสิ่งมีชีวิต อยู่เลยแม้แต่น้อย ซึ่งต่างจากเชื้อสาเหตุโรคชนิดอื่น ๆ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย ไฟโตพลาสมาโปรโตซัว และไส้เดือนฝอย
ลักษณะองค์ประกอบ
เชื้อไวรอยด์มีองค์ประกอบเป็นเส้นอาร์เอ็นเอ สายเดี่ยว (SSRNA) ที่เป็นวงปิดมีขนาดตั้งแต่ 296 - 463 เบส (base) โดยไม่มีโปรตีน (coat protein) ห่อหุ้ม เหมือนกับไวรัส เมื่อเทียบขนาดจีโนม (genome) แล้ว ไวรอยด์จะมีขนาดจีโนมที่เล็กมากที่สุดซึ่งเล็กกว่าไวรัสชนิดที่เล็กที่สุดด้วยซ้ำ (ประมาณ 2,000 เบส)
และ เนื่องจากลำดับเบสภายในจีโนมของไวรอยด์มีลักษณะเป็น "self-complementary base-pair" คือ มีลำดับนิวคลีโอไทด์ ที่สามารถสร้างพันธะ hydrogen bond แบบจับกันเอง ภายในจีโนมได้สูง จนทำให้จีโนมของไวรอยด์ที่เป็น วงอาร์เอ็นเอเกิดโครงสร้างทุติยภูมิ (Secondary structure) ที่มีลักษณะคล้ายกับไม้เท้าหรือเหมือนวงหนังยางที่ถูกบิด เป็นเกลียว ที่เรียกว่า “rod-like structure” ในไวรอยด์วงศ์ Pospiviroidae หรือเป็น branched structure ในไวรอยด์วงศ์ Avsunviroidae นอกจากนี้แล้วไวรอยด์ยังเป็นสิ่งมีชีวิต เพียงชนิดเดียวที่ไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนได้เหมือน สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
การจัดจําแนกชนิด
ปัจจุบันไวรอยด์ถูกจัดจำแนกออกมามากกว่า 30 ชนิด โดยองค์กรกลุ่มคณะกรรมการ “International Committee on Virus Taxonomy (ICTV)" ånlûunns ในการจัดจำแนกและจัดลำดับอนุกรมวิธานของไวรัส และไวรอยด์ทุกสายพันธุ์ โดยล่าสุดได้จัดจำแนกไวรอยด์ ออกเป็น 2 วงศ์ (family) คือ Avsunviroidae และ Pospiviroidae โดย
วงศ์ Avsunviroidae จะถูกจำแนก ออกเป็น 3 สกุล (order) ได้แก่ Avsunviroid, Pelamoviroid และ Elaviroid ในขณะที่วงศ์ Pospiviroidae ถูกจัดจำแนกออกเป็น 5 สกุล ได้แก่ Pospiviroid, Hostuviroid, Cocadviroid, Apscaviroid , Coleviroid
วงศ์ Avsunviroidae
ไวรอยด์ในวงศ์นี้มีโครงสร้างทุติยภูมิที่แตกต่างจากวงศ์ Pospiviroidae โดยเชื้อจะเพิ่ม ปริมาณในคลอโรพลาสต์ของพืชอาศัยโดยอาศัยสารเคมี และเอนไซม์จากคลอโรพลาสต์ โดยทั่วไปแล้วไวรอยด์ ในวงศ์นี้จะมีจำนวนชนิดพืชอาศัยที่แคบมาก
วงศ์ Pospiviroidae
เชื้อในวงศ์นี้จะมีโครงสร้าง ทุติยภูมิที่มีลักษณะคล้ายไม้เท้า (rod-like structure) โดย ไวรอยด์ในวงศ์นี้จะเพิ่มปริมาณเชื้อในบริเวณนิวเคลียส ของเซลล์พืชโดยจะอาศัยโปรตีนโดยใช้เอ็นไซม์และ สารเคมีที่อยู่ในนิวเคลียส ปกติแล้วไวรอยด์ในกลุ่มนี้จะมี จำนวนชนิดพืชอาศัยกว้างกว่าวงศ์ Avsunviroidae มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรอยด์ในสกุล Pospiviroid, Hostuviroid, Cocadviroid และ Apscaviroid ซึ่งไวรอยด์ส่วนใหญ่ ที่มีรายงานจะอยู่ในวงศ์นี้เป็นหลัก
กลไกการเกิดโรคและลักษณะอาการของโรค
กระบวนการเข้าทำลายพืชและการเพิ่มปริมาณของ ไวรอยด์ค่อนข้างคล้ายคลึงกับไวรัสพืช เนื่องจากเป็น ปรสิตถาวร โดยไวรอยด์จะอาศัยสารเคมี เอ็นไซม์ โปรตีน และพลังงานต่าง ๆ จากเซลล์พืชในการเพิ่ม ปริมาณตัวเอง
สำหรับกลไกการก่อให้เกิดอาการผิดปกติในพืช ของไวรอยด์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากกลไกการป้องกัน ตัวเองของพืช (plant defenseme chanism) ที่เข้าไป ตัดทำลายไวรอยด์ให้กลายเป็นชิ้นอาร์เอ็นเอสายสั้น ๆ เมื่อพืชเกิดการติดเชื้อ แต่เนื่องจากชิ้นส่วนอาร์เอ็นเอ ของไวรอยด์มีลำดับเบสที่คล้ายคลึงกับยีนของพืช ส่งผล ทำให้ชิ้นส่วนอาร์เอ็นเอดังกล่าวเข้าไปทำลายและรบกวน การทำงานของยีนพืชที่เกี่ยวข้อง ผลที่ตามมาคือพืช ที่ติดเชื้อไวรอยด์จะแสดงอาการผิดปกติ
ลักษณะอาการที่เกิดจากไวรอยด์
ส่วนใหญ่จะ คล้ายคลึงกับอาการที่เกิดจากไวรัส เช่น อาการแคระ แกร็น อาการผิดรูปและลดขนาดของใบ ก้านใบ ดอก และผล จนไปถึงไม่แสดงอาการผิดปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ของไวรอยด์และพืชอาศัย รวมถึงสิ่งแวดล้อมขณะนั้นด้วย ปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะอาการและระดับความรุนแรงของ โรคมีหลายสาเหตุ ได้แก่ ชนิดของไวรอยด์ รวมถึงตัวแปร (variant) ของเชื้อด้วย ชนิดและสายพันธุ์ของพืชอาศัย รวมถึงอายุพืชในระยะช่วงเวลาที่ได้รับเชื้อ และปัจจัย ทางสภาพแวดล้อม เช่น ความเข้มของแสงและอุณหภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุณหภูมิจะมีผลต่อการแสดงความรุนแรง ของอาการโรคเป็นอย่างยิ่ง พบว่าไวรอยด์สามารถแสดง อาการโรคได้รุนแรงมากขึ้นตามอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งต่างจากไวรัสที่จะแสดงอาการรุนแรงเมื่อสภาพอากาศเย็น และไวรอยด์ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการเลยที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส รวมถึงความสามารถในการ ถ่ายทอดโรคและเพิ่มปริมาณในพืชจะลดลงด้วย
ลักษณะอาการผิดปกติที่เกิดจากเชื้อไวรอยด์
- (A) อาการต้นแคระแกร็นในมะอึก (Solanum tramoniifolium)
- (B) อาการใบผิดรูปในมะอึก
- (C) อาการใบย่นหดลดรูปและโค้งลงในมะเขือเทศ
- (D) อาการยอดหดลดรูปในมะเขือเทศ
- (E) อาการ vein necrosis เนื้อเยื่อตายที่บริเวณท่อลำเลียงในมะอึก
- (F) อาการผลลดขนาดอย่างรุนแรงในมะเขือเทศ
- (G) อาการมะเขือเทศไม่สร้างเมล็ด
- (H) อาการหัวมันฝรั่งผิดรูป (ที่มา: Verhoeven et al. 2009)
- (I) อาการเปลือกต้นแตกร่อน bask scaling
- (J) อาการยางไหลและเสี้ยนในต้นตอส้ม
(ที่มา: Hadidi et al. 2003)
การถ่ายทอดโรค
ไวรอยด์ทุกชนิดจะถ่ายทอดโรคโดยวิธีกล (mechanical transmission) เป็นหลัก เช่น จากการ ปนเปื้อนของเครื่องมือและเครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึง การปนเปื้อนอันเนื่องมาจากการใช้รถแทรคเตอร์ด้วย
นอกจากนี้การปฏิบัติทางการเกษตรต่าง ๆ เช่น การติดตา ต่อกิ่ง ไถพรวน ล้วนสามารถก่อให้เกิดการแพร่กระจาย ของเชื้อได้ อย่างไรก็ตามไวรอยด์หลายชนิดสามารถ ถ่ายทอดโรคผ่านทางเมล็ดพันธุ์ได้ด้วย ซึ่งสร้างปัญหา ให้กับธุรกิจการค้าเมล็ดพันธุ์เป็นอย่างมาก
ไวรอยด์บางชนิด สามารถถ่ายทอดโรคผ่านทางละอองเกสรโดยอาศัยผึ้งหรือ แมลงภู่เป็นพาหะได้ ทำให้พืชต้นดังกล่าวรวมถึงเมล็ดพันธุ์ ติดโรคไปด้วย นอกจากนี้ไวรอยด์บางชนิดยังสามารถ ถ่ายทอดโรคผ่านทางเพลี้ยอ่อนได้ในระดับต่ำมาก (ต่ำที่ระดับ 0.5%) ซึ่งแตกต่างจากไวรัสพืชที่มักจะ ถ่ายทอดโรคผ่านทางแมลงเป็นหลัก
ความเสียหายทางเศรษฐกิจ
ความเสียหายทางเศรษฐกิจและผลกระทบที่เกิดจาก ไวรอยด์โดยทั่วไปแล้วจะขึ้นอยู่กับมูลค่าทางเศรษฐกิจของ พืชนั้น ๆ ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ รวมถึงความสามารถ ทางการค้าในตลาด ตัวอย่างเช่น
เชื้อ Potato spindle tuber viroid (PSTVd)
ก่อให้เกิดอาการโรคหัวมันฝรั่ง บิดเบี้ยวเป็นทรงดัมเบล ทำให้ผลผลิตมันฝรั่งลดลงถึง 64 เปอร์เซ็นต์ และเสียคุณภาพไม่สามารถจำหน่ายได้ นอกจากนี้ยังทําให้ผลผลิตมะเขือเทศลดลงถึง 45 เปอร์เซ็นต์ อีกด้วย
เชื้อ Hop stunt viroid (HpSVd)
ทำให้ผลผลิต hop ที่เป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญในการผลิตเบียร์ลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งคุณภาพของกลิ่นเบียร์ที่ได้จากดอก hop เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของเบียร์
เชื้อ Columnea latent viroid (CLVd) lawan
มะเขือเทศลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในมะเขือเทศ พันธุ์ผลโต เชื้อก่อให้เกิดอาการต้นเตี้ยแคระแกร็น ยอดลดรูปเป็นกระจุก ผลมีขนาดเล็กลงมาก เมล็ดลีบ หรือไม่มีการสร้างเมล็ด
เชื้อ Pepper chat fruit viroid (PCFVd)
ทำให้พริกหวาน Sweet pepper (Capsicum annuum) มีผลลดขนาดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงทําให้ผลผลิตมะเขือเทศลดลงเป็นอย่างมาก
เชื้อ Chrysanthemum stunt viroid (CSVd)
ทำให้ ดอกเบญจมาศเสียรูปทรงและขนาดไม่เป็นที่ต้องการของ ตลาดไม่สามารถจําหน่ายได้
เชื้อ Coconut cadang cadang viroid (CCCVd)
สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยการเข้าทําลายของเชื้อทําให้ ต้นมะพร้าวตายมากกว่า 40 ล้านต้น ผลผลิตมะพร้าว ลดลงถึง 22,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศวิทยา รวมถึงธุรกิจการท่องเที่ยวของ ประเทศด้วยมูลค่าความเสียหายสูงในระดับที่ไม่สามารถ คํานวณได้
นอกจากไวรอยด์จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งในเชิง ปริมาณและคุณภาพต่อพืชเศรษฐกิจแล้ว ที่สำคัญไวรอยด์ หลายชนิดยังเป็นศัตรูพืชกักกัน (quarantine pest) ของหลายประเทศ โดยมีเงื่อนไขกำหนดให้พืชหรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น ดอก ใบ ผล เมล็ด และ ละอองเกสร จะต้องไม่มีการปนเปื้อน (0%) ของเชื้อ ไวรอยด์ติดเข้ามากับสินค้าเกษตรนำเข้าดังกล่าว
หากมีการตรวจพบไวรอยด์กักกันปนเปื้อนมากับสินค้าพืชนำเข้า สินค้าเกษตรนั้นจะถูกเผาทำลายหรือส่งกลับประเทศต้นทางทันที ทั้งนี้เจ้าของสินค้าเกษตรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ซึ่งหากมีการตรวจพบการปนเปื้อน เชื้อศัตรูพืชกักกันติดต่อกันหลายครั้งจะส่งผลทำให้ถูก ระงับการส่งออกหรืออาจถูกกีดกันทางการค้าอีกด้วย ส่งผลกระทบโดยตรงกับการส่งออกสินค้าเกษตรไปยัง ต่างประเทศ
ดังมีกรณีตัวอย่างเช่น การตรวจพบเชื้อ CLVd และ PCFVd ติดปนเปื้อนไปกับเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ และพริกลูกผสมจากประเทศไทยส่งออกไปยังประเทศ เครือรัฐออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ประเทศ ผู้นำเข้าดำเนินการเผาทำลายเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ และพริก Lot ดังกล่าว โดยแจ้งเตือนการตรวจสกัดกั้น (interception) เชื้อไวรอยด์ทั้งสองชนิด พร้อมทั้งระงับ การนำเข้าเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศและพริกจากประเทศไทย เป็นการชั่วคราว
การตรวจวินิจฉัย
เนื่องจากอนุภาคไวรอยด์มีองค์ประกอบเพียง วงอาร์เอ็นเอสายเดี่ยวที่ไม่มีโปรตีนห่อหุ้มและไม่สามารถ สังเคราะห์โปรตีนใด ๆ ได้ ดังนั้นเทคนิคการตรวจวินิจฉัย ด้วยการตรวจหาโปรตีน (protein-based detection) เช่น เทคนิค ELISA (Enzyme-linked immunosorbent assay) จึงไม่สามารถนำมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยหาเชื้อไวรอยด์ได้ ปัจจุบันเทคนิคที่ยังเป็นที่นิยมใช้ในการตรวจวินิจฉัยเชื้อ ไวรอยด์มีดังนี้
1. Bioassay หรือ Biological indexing
เป็นวิธีการใช้พืชอาศัยที่เหมาะสมมาใช้ตรวจจำแนกอาการโรค ที่เกิดจากเชื้อไวรอยด์ โดยคุณสมบัติของพืชทดสอบดังกล่าว จะต้องแสดงอาการของโรคที่จำเพาะได้อย่างชัดเจนที่ ทำให้สามารถแยกลักษณะอาการที่เกิดจากเชื้อไวรอยด์ ออกจากลักษณะอาการผิดปกติที่เกิดเชื้อสาเหตุโรค ชนิดอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้แล้วพืชทดสอบที่ดีจะต้องมี ความสามารถในการแสดงอาการโรคได้ไว เพื่อให้ระยะเวลา ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยทำได้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ดีวิธีการนี้ไม่สามารถจำแนกชนิดของเชื้อไวรอยด์ได้ จําเป็นต้องอาศัยเทคนิคอื่นเข้าร่วมในการตรวจสอบด้วย เช่น molecular detection methods เป็นต้น
2. RT-PCR (reverse transcription-polymerase chain reaction) และ real time RTPCR
เป็นเทคนิค ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยไวรอยด์ที่แพร่หลายที่สุด โดยใน ขั้นแรกสุดจำเป็นต้องแปลงสายอาร์เอ็นเอของไวรอยด์ให้ เป็นดีเอ็นเอ (CDNA) เสียก่อนด้วยปฏิกิริยา reverse transcription จากนั้นจึงนำเอา CDNA ที่ได้มาเพิ่มปริมาณ อย่างจำเพาะ จากนั้นจึงทำการหาและวิเคราะห์ลำดับดีเอ็นเอ เพื่อจำแนกชนิดของไวรอยด์ในขั้นต่อไป
ในขณะที่เทคนิค Real-time RT-PCR จะใช้หลักการ เรื่องการตรวจสอบสัญญาณสารเรืองแสง (fluorescence signal) ในหลอดทดลองที่จะแปรผันตามปริมาณชิ้นส่วน ของดีเอ็นเอที่เพิ่มปริมาณได้ ทำให้สามารถวิเคราะห์หา ปริมาณเชื้อไวรอยด์ในตัวอย่างได้ (quantitative detection) ซึ่งโดยปกติเทคนิค Realtime RT-PCR จะมีความไวของ ปฏิกิริยา (sensitivity) ที่สูงกว่าวิธีการ conventional RT-PCR อยู่ในระดับ 10 - 100 เท่า
เทคนิคทั้ง 2 วิธีการนี้มีความไวของปฏิกิริยาที่สูง รวมถึงมีความจําเพาะและแม่นยำในการตรวจ (specificity) ที่สูงด้วยเช่นกัน จึงทำให้เป็นวิธีการที่มีความถูกต้องและ น่าเชื่อถือ (reliability)
3. RT-LAMP (Reverse transcription loop mediated isothermal amplification)
เป็นเทคนิค เพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอเทคนิคใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี 2000 โดยอาศัยคุณสมบัติของเอ็นไซม์ Bst enzyme ซึ่งได้จากเชื้อ Bacillus stearothermophilus ที่มีคุณสมบัติ พิเศษสามารถสังเคราะห์เพิ่มปริมาณสายดีเอ็นเอได้อย่าง รวดเร็ว โดยใช้เพียงอุณหภูมิเดียว (ระหว่าง 60 – 65 °C) แต่ให้ความถูกต้องแม่นยำจำเพาะของการตรวจสอบ (specificity) ที่สูงมาก และมีความไวของปฏิกิริยา (sensitivity ที่สูงมาก (สูงกว่าเทคนิค PCR - 10 - 100 เท่า) ทำให้เทคนิค LAMP สามารถให้ผลการตรวจวินิจฉัยได้ ในระยะเวลาที่สั้น (15 นาที - 1 ชั่วโมง) นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถพัฒนาต่อยอดให้ใช้งานแบบภาคสนาม (on-site/ in field) ได้โดยไม่จำเป็นต้องนำตัวอย่างเข้าไปตรวจ ในห้องปฏิบัติการ
การควบคุมโรค
การควบคุมโรคในแปลงการเกษตร ปัจจุบันยังไม่มี สารเคมีหรือวิธีการใด ๆ ที่สามารถนำมาใช้ควบคุมโรคที่เกิด จากเชื้อไวรอยด์อย่างได้ผล รวมถึงไม่มีพันธุ์ต้านทานโรค หรือแม้กระทั่งการผลิตพืชตัดต่อสารพันธุกรรม (transgenic plant) ให้มีความสามารถในการต้านทานโรคได้
การถอน ทำลายต้นพืชที่ติดเชื้อและเผาทำลายจึงเป็นวิธีการเดียวในการป้องกันกำจัดโรค การทำ seed treatment เมล็ดพันธุ์ ด้วยสารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย รวมถึงการใช้ความร้อน (heat treatment) ที่ใช้ในการ กำจัดไวรัสที่ปนเปื้อนในเมล็ดพันธุ์ไม่สามารถนำมาใช้ กำจัดไวรอยด์ที่ติดในเมล็ดได้ วิธีการที่ได้ผลดีที่สุดคือ การจัดการแปลงที่ดีรวมถึงการจัดการศัตรูพืชโดยวิธี ผสมผสาน (Integrated Pest Management : IPM)
สำหรับการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อตามพื้นผิววัสดุ และอุปกรณ์การเกษตรสามารถใช้สารละลาย Sodium hypochlorite (NaCIO) ความเข้มข้น 1 - 3 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจใช้คลอร็อกซ์ (Clorox) แทน ล้างทําความสะอาด เครื่องมือและเครื่องจักรกลการเกษตร ทั้งนี้แอลกอฮอล์ รวมถึงยาปฏิชีวนะชนิดต่าง ๆ ไม่สามารถใช้กำจัดเชื้อ ไวรอยด์ได้.
อ้างอิง: ปริเชษฐ์ ตั้งกาญจนภาสน์, กาญจนา วาระวิชะนี และ แสนชัย คำหล้า; น.ส.พ. กสิกร กรมวิชาการเกษตร