ราสนิม ลีลาวดี อันตรายไหม? สาเหตุ แพร่ระบาด วิธีแก้ รักษา ป้องกัน กำจัดราสนิม?
ในช่วงฤดูฝน สภาพความชื้นสูง มักจะเกิดโรคระบาดรุนแรงขึ้นกับต้นลีลาวดี เรียกว่า โรคราสนิมลีลาวดี เกิดจากเชื้อรา เข้าทำลายใบลีลาวดี
เริ่มจากพบจุดเล็ก ๆ สีเหลืองอ่อนที่หน้าใบ ใต้ใบเป็นจุดสปอร์สีเหลืองเข้ม ส่งผลทำให้ใบลีลาวดีทิ้งใบร่วงหล่นจนหมดเกือบทั้งต้น
ลักษณะอาการ โรคราสนิม ลีลาวดี
โรคราสนิม ลีลาวดี เกิดจากเชื้อสาเหตุ Coleosporium plumeriae Pat. จะเริ่มพบระยะ uredinium เกิดด้านใต้ใบมากกว่าด้านบนใบ เข้าทำลายบริเวณใบกลางอ่อน กลางแก่ (เพสลาด) จนถึงใบแก่ ลักษณะเป็นจุดนูนกลมสีเหลืองสดถึง เหลืองส้ม เกิดขึ้นเป็นจุด ๆ กลุ่ม หรือเกิดเดี่ยว ๆ กระจายทั่วทั้งใบ uredinium เกิดใต้ชั้น epidermis ของพืช
เมื่อแก่จะดัน epidermis ให้นูนปริแตกเกิดเป็นผงฝุ่นสปอร์สีเหลืองจำนวนมาก เนื้อเยื่อด้านตรงข้ามกลุ่มเชื้อเป็นสีเหลืองซีด ต่อมาจะเกิด อาการแห้งไหม้เป็นสีน้ำตาลและใบจะร่วงก่อนกำหนด เมื่อเขย่าใบ กลุ่มสปอร์ดังกล่าวจะฟุ้งกระจายไปทั่ว
บางครั้ง เมื่อสังเกตุดูบริเวณลำต้น จะเห็นผงสปอร์สีเหลืองตกแผ่กระจาย ทำให้เห็นเป็นสีเหลืองทั่วบริเวณโคนต้น ถ้าอาการรุนแรงจุดแผลจะถามติดกัน เกิดเป็นลักษณะแผลไหม้ ทำให้ใบลีลาวดีร่วงหล่นหมดเกือบทั้งต้น
บางครั้งเชื้อราสนิม อาจลุกลามเข้าบริเวณตาดอก ทําให้การติดดอกลดลง ถ้าเชื้อเข้าทำลายใบที่ยังไม่แก่มากนัก จะทำให้ใบบิดเบี้ยว ก่อนร่วงหล่น ซึ่งในพันธุ์ที่อ่อนแอ เชื้อราสนิมอาจเข้าทำลายในส่วนตายอด ทําให้ตายอดแห้งตาย
โรคราสนิม ลีลาวดี อันตรายไหม
"ราสนิม" โรคประจำตัวของลีลาวดี เรียกว่าเป็นทุกต้นเมื่อถึงฤดูช่วงปลายฝนต้นหนาว หลายคนเป็นกังวลเพราะใบของลีลาวดีจะดูโทรมเหลือง หนักเข้าก็กลายเป็นรอยไหม้สีน้ำตาล
ถึงแม้โรคราสนิมนี้ อาจจะไม่ทำอันตรายมากถึงขนาดที่จะให้ต้นลีลาวดีที่มีอายุมาก ๆ ถึงตายได้ แต่ก็สามารถทําให้ใบ และทรงพุ่มของต้นลีลาวดี สูญเสียความงดงามลงไปมาก
เนื่องจาก เมื่อมองขึ้นไปที่บนต้นที่เป็นโรคราสนิม จะเห็นใบของลีลาวดีที่เคยเป็นเงามันสดใส เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาลแห้งไหม้ บิดเบี้ยวและร่วงหล่นในที่สุด
โดยธรรมชาติแล้ว ลีลาวดีจะทิ้งใบในช่วงฤดูหนาว เมื่ออากาศเย็นและแห้งแล้วขึ้น ราสนิมก็ถือเป็นอีกตัวช่วยของเค้าเพื่อให้ทิ้งใบและพักตัวเร็วขึ้น ทำให้ลีลาวดีไม่ถึงกับช็อกกับช่วงฤดูหนาว หากรดน้ำสม่ำเสมอ ใบใหม่ก็จะงอกเร็วขึ้นและโตต่อได้ไม่พักตัวนานนัก
แล้วสำหรับมนุษย์ล่ะ ราสนิม เป็นอันตรายต่อคนไหม? โดยธรรมชาติแล้วสปอร์ของเชื้อรามีอยู่ทั่วไปในอากาศ ราสนิมก็เป็นหนึ่งในนั้น ในส่วนที่มีผลกับมนุษย์ นอกจากเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าแล้ว ยังไม่เคยมีรายงานถึงผู้ได้รับอันตรายจากเชื้อราบนพืช
สาเหตุ การแพร่ระบาด
โรคราสนิม ลีลาวดี จะเริ่มระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน ที่สภาพความชื้นสูง ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม โดยสปอร์ฟุ้งกระจายไปตามแรงลม หยดน้ำฝน หรือเครื่องมือทางการเกษตรต่าง ๆ และการสัมผัส
ในช่วงฤดูฝน ความชื้นในอากาศสูง เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ต้นลีลาวดีเป็นต้นไม้ที่เกิดโรคราสนิมได้ง่าย หากอยู่ในสภาพแวดล้อมดังต่อไปนี้
- ต้นลีลาวดี ปลูกอยู่ในบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูงเป็นระยะเวลายาวนาน หรือรดน้ำบ่อยครั้งเกินไป
- ต้นลีลาวดีได้รับแสงแดดไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้ต้นลีลาวดีไม่แข็งแรง และอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา สาเหตุโรคราสนิม
- มีใบปกคลุมจำนวนมากเกินไป และได้รับปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง ทำให้ลำต้นอวบน้ำมากกว่าปกติ
- มีต้นไม้อื่น ๆ ที่มีเชื้อสาเหตุโรคราสนิม อยู่ในบริวเณใกล้ ๆ กับต้นลีลาวดี
วิธีแก้ ใช้ยาอะไรรักษา?
สำหรับยารักษาโรคราสนิม ลีลาวดี ยี่ห้อไหนดี มีหลายยี่ห้อให้เลือก แต่สำหรับที่เราจะแนะนำในบทความนี้ เนื่องจากใช้ได้ผลดีจริง คือ พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช จอยท์ Joint (flutriafol 12.5%EC.)
แนะนำ วิธีใช้ จอยท์ ป้องกันกำจัดโรคราสนิมลีลาวดี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพดีที่สุด
ระยะเริ่มแรก คือระยะที่ใบลีลาวดีเริ่มมีจุดราสนิม หรือ มีปริมาณจุดราสนิม 30% ของแผ่นใบ ให้ใช้จอยท์ อัตรา 1ซีซี (ปลายช้อนชา) ผสมกับน้ำ 1 ลิตร กวนให้เข้ากัน แล้วนำจอยท์ที่ผสมกับน้ำแล้ว มาราดที่โคนต้นลีลาวดี
โดยราดส่วนผสมนั้น 1 ลิตร ทุก ๆ ความสูง 1 เมตร เช่น ลีลาวดีสูง 3 เมตร ให้ราด 3 ลิตร รอบบริเวณโคนต้น อย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน จะช่วยควบคุมโรคได้นาน 1 เดือน
ระยะลุกลาม คือระยะที่ใบลีลาวดีมีจุดราสนิมขึ้นในปริมาณมากกว่า 50% ของแผ่นใบ ให้ใช้จอยท์ อัตรา 1ซีซี (ปลายช้อนชา) ผสมกับน้ำ 1 ลิตร กวนให้เข้ากัน
แล้วนำไปฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นที่เป็นโรค โดยเฉพาะบริเวณใต้ใบและต้นอื่น ๆ ทั้งหมดในบริเวณใกล้เคียงกัน ร่วมกับ การราดส่วนผสมจอยท์ที่บริเวณโคนต้นด้วย อย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน.
วิธีป้องกัน กำจัด ราสนิม
- ควรงดการให้น้ำไปซักระยะหนึ่ง 2-3 วัน ให้ดินแห้ง เพื่อลดความชื้นบริเวณรอบๆ ต้น
- ถ้าต้นลีลาวดีที่มีทรงพุ่มไม่สูงมาก ควรเก็บใบที่เริ่มแสดงอาการโรคราสนิม ออกจากต้นให้หมด โดยค่อย ๆ บิดเด็ดใบ ด้วยความระมัดระวังเบา ๆ เนื่องจากสปอร์สามารถฟุ้งกระจายได้ง่ายในอากาศ
- พยายามอย่าสัมผัสผงสปอร์โดยตรง หากใบที่เป็นโรคราสนิม มีจํานวนไม่มากเกินไป ควรเก็บใส่ถุง และปิดปากให้แน่น ก่อนนำไปเผาทําลาย
- ถ้าในกรณีที่ต้นลีลาวดี มีขนาดใหญ่ และมีใบที่เป็นโรคจำนวนมาก จนไม่สามารถเด็ดใบทิ้งได้ทั้งหมด ก็ ควรเก็บกวาดใบที่เป็นโรคบริเวณโคนต้น และในส่วนที่เก็บถึงให้มากที่สุด และนำไปเผาทําลาย
- ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และมีแสงแดดส่องถึงได้ทั่วต้นและโคนต้น
- ในกรณีที่ต้นลีลาวดียังมีขนาดเล็กและปลูกเป็นไม้กระถางเคลื่อนย้ายได้ ควรเคลื่อนย้ายมาอยู่ในที่แห้ง แดดจัด ลมพัดผ่านได้ง่าย อากาศถ่ายเทได้ดี
ต้นลีลาวดี หรือ ลั่นทม
ลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้น ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือ ของทวีปอเมริกาใต้ ได้รับความนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายอย่างมาก มีชื่อพื้นเมือง อื่น ๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และปาขอม เป็นต้น
ลีลาวดี เดิมมีชื่อว่า "ลั่นทม" ซึ่งไปพ้องเสียงกับคำว่า "ระทม" ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก จึงมีความเชื่อ ว่าไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้าน เนื่องจากมีชื่อ เป็นอัปมงคล แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อใหม่ ว่า "ลีลาวดี"
ในประเทศไทย ลีลาวดีนําเข้ามาจากเขมร เมื่อ คราวไปตีนครธม ได้ชัยชนะ จึงเรียกชื่อเป็นที่ระลึก ว่า "ลั่นธม" ซึ่ง "ลั่น" แปลว่า ตี "ธม" หมายถึง "นครธม" ภายหลังเพี้ยนเป็น "ลั่นทม" นั่นเอง
ข้อดี ลีลาวดี
ดอกลีลาวดี ดอกมีสีสรรหลากหลาย ทั้ง ดอกสีขาว สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีส้ม สีม่วง สีทอง และมีอายุยืนยาวได้ถึง 100 ปี จึงเป็นไม้ประดับที่มีผู้สนใจปลูกกันอย่างมากในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา
เนื่องจาก ความงามของทรงต้น ใบ และ ดอกที่มีหลากสีสัน โดยเมื่อนำมาปรับปรุงพันธุ์แล้ว จะได้สีที่แปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดอกมีกลิ่นหอม ปลูกเลี้ยงง่าย โตเร็ว อดทน การดูแลรักษาง่าย ไม่ยุ่งยาก
ลีลาวดี ยังมีคุณสมบัติใช้เป็นสมุนไพร หลังจากเป็นที่รู้จักและคุ้นหูในนามของ ลีลาวดี จึงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก โดยเฉพาะในการจัดภูมิทัศน์และจัดสวน
ด้วยราคาที่สูงอย่างต่อเนื่องของลีลาวดี ทำให้มีเกษตรกรจํานวนมาก หันมาปลูกต้นลีลาวดี เพื่อการค้ากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน สามารถสร้างรายได้แก่เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ