✓กล้วยแต่ละสายพันธุ์ ชนิดต่างๆ ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ?
สําหรับในบ้านเรานั้น กล้วย ถือเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทาน กันเป็นอย่างมาก หาทานได้ง่าย และมีราคาถูก ซึ่งนอกจากจะมี สีสันสวยงาม หอมหวานแล้ว ยังมีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย ซึ่ง ให้พลังงานสูง และกล้วยยังมีหลายสายพันธุ์ ที่รู้จักกัน เช่น กล้วย น้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยนาก กล้วยน้ำไท เป็นต้น ซึ่งกล้วยแต่ละสายพันธุ์ที่มีสรรพคุณมากมายเกินกว่าที่จะ เป็นแค่เรื่องกล้วย ๆ
เรื่องกล้วย.. กล้วย
กล้วย (Musa sapientum Linn.) เป็นพืชล้มลุกขนาดใหญ่ จัดอยู่ในตระกูล Musaceae มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกเฉียงใต้ เจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะอากาศอบอุ่น และชุ่มชื้น เป็นพืชปลูกง่าย ไม่ยุ่งยากในการบำรุงรักษาและให้ผลผลิตตลอดปี จึงมีการขยาย พันธุ์กันอย่างแพร่หลาย
Photo by Tanuj_handa
สำหรับประเทศไทยมีการปลูกกล้วยเพื่อบริโภค ตั้งแต่ระดับครัวเรือน จนถึงการปลูกเพื่อการจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรม จัดเป็นพืชเศรษฐกิจพืชหนึ่งที่สร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศ
กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า มีชื่อสามัญหรือชื่อเรียกท้องถิ่นว่า กล้วยใต้ กล้วยตานี อ่อง กล้วยมะลิอ่อง หรือกล้วยอ่อง (Pisang Awak) และ มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Musa (ABB) 'Nam Wa'
ลักษณะ
ลักษณะผล มีเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกผลหนา เมื่อผลสุก มีสีเหลือง เนื้อสีขาวนวล รสหวาน ไส้กลางสีเหลือง ชมพู หรือขาว มีหลากหลายสายพันธุ์ อาทิ กล้วยน้ำว้าค่อม กล้วย น้ำว้า กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง และกล้วยน้ำว้าจันทร์
ประโยชน์ สรรพคุณ
กล้วยน้ำว้าให้ คุณประโยชน์มากมาย มีธาตุเหล็กสูงที่สุด ช่วยป้องกันโรค โลหิตจางได้ เป็นยาอายุวัฒนะ สามารถทานเพื่อลดน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีสารฮิสโตแฟนที่เป็นสารตั้งต้นฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน หลั่งสารแห่งความสุข ช่วยให้หลับสบาย คลายความเครียด ทั้งยังมีแคลเซียมสูง ช่วยป้องกันฟันผุ
กล้วยหอม
กล้วยหอม หรือ กล้วยหอมทอง เป็นชื่อท้องถิ่นที่ถูกเรียก โดยทั่วไป มีชื่อสามัญคือ Gros Michel และชื่อทางวิทยาศาสตร์ Musa (AAA) 'Hom'
ลักษณะ
มีลักษณะผลใหญ่ ปลายโค้งเรียวยาว เปลือกบาง เมื่อสุก จะมีสีเหลืองทอง เนื้อในสีส้มอ่อน รสหวาน มีกลิ่นหอม สายพันธุ์ ที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ กล้วยหอมเขียว กล้วยหอมทอง กล้วยหอมคอม และกล้วยหอมแกรนด์เนน
ประโยชน์ สรรพคุณ
มีผลวิจัยพบว่า กล้วยหอมทองมีโปรตีน สูง ช่วยให้ร่างกายเติบโตแข็งแรง มีแร่ธาตุเป็นจำนวนมาก รักษา อาการโลหิตจาง นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการของโรคหลอดเลือด ในสมอง บำรุงประสาท ปรับอารมณ์ ลดความตึงเครียด ช่วยให้ ร่างกายสดชื่น สามารถป้องกันโรคซึมเศร้า และบรรเทาอาการปวด ต่าง ๆ
กล้วยไข่
กล้วยไข่ มีชื่อท้องถิ่นว่า กล้วยกระ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Musa (AA) 'Khai'
ลักษณะ
มีลักษณะคือ ผลค่อนข้างเล็ก ก้านผลสั้น มีเปลือกบาง เมื่อสุกเปลือกและเนื้อมีสีเหลืองสด มีจุดกระ สีดำที่เปลือก มีรสชาติหวาน
กล้วยไข่มี 2 สายพันธุ์ที่เป็นที่รู้จัก คือ กล้วยไข่ กำแพงเพชร และกล้วยไข่ทองเงย
ประโยชน์ สรรพคุณ
มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยต้าน มะเร็ง เมื่อสุกช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย ผลดิบใช้ชง น้ำร้อนหรือบดเป็นผงรับประทาน ช่วยรักษาแผลในกระเพาะ อาหารและอาการท้องเสียเรื้อรัง มีรสฝาด
กล้วยเล็บมือนาง
กล้วยเล็บมือนาง มีชื่อเรียกโดยทั่วไปคือ กล้วยข้าว กล้วยเล็บมือ กล้วย ทองดอกหมาก และกล้วยหมาก ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Musa (AA) 'Lep Mue Nang' เป็นกล้วยประจำท้องถิ่นของภาคใต้ ปัจจุบันนำมาปลูกกันทั่วทุกภาค โดยเฉพาะภาคกลาง
ลักษณะ
กล้วยเล็บมือนางมีผลเล็ก ปลายเรียวยาวและโค้ง ก้าน ผลสั้น เปลือกหนา เมื่อสุกมีสีเหลืองทอง และมีก้านเกสรเพศ เมียติดที่ปลายผล เนื้อด้านในมีสีเหลืองหรือสีครีม เนื้อนุ่ม รับประทานง่าย เพราะผลมีขนาดเรียวเล็ก กลิ่นรสหวานหอม
ประโยชน์ สรรพคุณ
ผลดิบมีรสมัน ไม่ฝาด นิยมนำมาปรุงอาหารปักษ์ใต้ ไม่นิยม นำมาแปรรูปเหมือนกล้วยชนิดอื่นเพราะขนาดเล็ก นอกจากนี้ ยังมีฟอสฟอรัสมากที่สุด ช่วยบำรุงให้กระดูกและฟันแข็งแรง
กล้วยนาก
กล้วยนาก เป็นกล้วยโบราณหายาก มีความแตกต่างจากกล้วย ชนิดอื่น ด้วยผลที่มีสีแดงเหมือนกับสีของนาก ทำให้มีเอกลักษณ์ โดดเด่น มีชื่อท้องถิ่นว่า กล้วยกุ้ง กล้วยกุ้งเขียว กล้วยแดง กล้วยครั่ง และกล้วยน้ำครั่ง เป็นกล้วยที่พบทางภาคใต้ มีชื่อ ทางวิทยาศาสตร์ว่า Musa (AAA) 'Nak'
ลักษณะ
เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม ก้านผลสั้น เนื้อ สีเหลืองอมส้ม มีรสหวานอมเปรี้ยวและกลิ่นหอมเย็น เนื้อนิ่ม ละเอียด และไม่มีเมล็ด
ประโยชน์ สรรพคุณ
บางตำรากล่าวว่า กล้วยนากมีสาร แอนติออกซิแดนท์สูง นิยมนำมารับประทานสดเมื่อผลสุก ส่วนผลดิบใช้ทอดหรือฉาบน้ำตาลเพื่อบริโภคหรือขาย นอกจากนี้ ยังนำมาใช้ในการประกอบเครื่องบูชาเทวดาและในงานพิธี มงคลต่าง ๆ
กล้วยน้ำไท
กล้วยน้ำไท หรือ กล้วยหอมเล็ก เป็นกล้วยท้องถิ่น ของกรุงเทพมหานคร ในปัจจุบันพบได้ยาก มีชื่อเรียกทาง วิทยาศาสตร์ว่า Musa (AAB) 'Nam Thai'
ลักษณะ
ลักษณะของผลคล้ายกล้วยหอมจันทร์ แต่โค้งงอกว่า เป็นเหลี่ยม เปลือกหนา ปลายผลมีจุกและมักมีก้านเกสร ตัวเมียติด เมื่อสุกมีสีเหลืองเข้มและมีจุดดำเล็ก ๆ คล้าย กล้วยไข่ เนื้อสีเหลืองอมส้ม กลิ่นรสหวานหอม ไม่มีเมล็ด
ประโยชน์ สรรพคุณ
นิยมกินผลสด ถ้านำไปเชื่อมหรือผ่านความร้อนจะมีรสฝาด มีสรรพคุณเป็นยาดี สามารถนำมาดองกับน้ำผึ้งใช้เป็นยา อายุวัฒนะ แต่เดิมเป็นกล้วยที่ใช้โดยทั่วไปในพิธีกรรมต่าง ๆ แต่ปัจจุบันหายาก จึงเปลี่ยนมาใช้กล้วยน้ำว้าแทน.