หนอนใยผัก ลักษณะ วิธีใช้สารกำจัดป้องกัน ซื้อที่ไหน ราคาถูก?

หนอนใยผัก (Diamondback moth) ชื่อวิทยาศาสตร์ Plutella xylostella (Linnaeus) วงศ์ Yponomeutidae อันดับ Lepidoptera หนอนใยผักเป็นแมลงศัตรูสําคัญและก่อให้เกิดความเสียหายกับผักตระกูลกะหล่ำทั่วประเทศไทย

หนอนใยผัก (Diamondback moth)

  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Plutella xylostella (Linnaeus)
  • วงศ์: Yponomeutidae
  • อันดับ: Lepidoptera
  • ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ: Diamondback moth 

ลักษณะการทําลายพืชผัก

สารกำจัดหนอนใยผัก โพรฟีโนฟอส

หนอนใยผักเป็นแมลงศัตรูสําคัญและก่อให้เกิดความเสียหายกับผักตระกูลกะหล่ำทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะในแหล่งปลูกผักเพื่อการค้าจะพบหนอนใยผักระบาดเป็นประจําและรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากหนอนใยผักมีวงจรชีวิตสั้น และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว กล่าวคือ ตัวเต็มวัยเพศเมียสามารถวางไข่ได้หลังออกจากดักแด้และผสมพันธุ์ภายใน 24 ชั่วโมง และวางไข่ได้ตลอดชีวิต

รายละเอียดเพิ่มเติม

นอกจากนี้ในแหล่งปลูกส่วนใหญ่มีการปลูกผักตระกูลกะหล่ำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทําให้มีพืชอาหารตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทําให้พบการระบาดของหนอนใยผักเสมอ ส่งผลให้เกษตรกรมีการใช้สารกำจัดแมลงพ่นอย่างต่อเนื่อง จึงทําให้หนอนใยผักมีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้รวดเร็วและมากชนิด ยากแก่การป้องกันกําจัด ดังนั้นจึงต้องมีแนวทางการป้องกันกําจัดหลากหลายวิธีผสมผสานกัน จึงจะสามารถลดการระบาดของหนอนใยผักลงได้

รูปร่าง ลักษณะหนอนใยผัก และวงจรชีวิต

ระยะเวลาการเจริญเติบโตของหนอนใยผักขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในเขตที่สภาพภูมิอากาศอบอุ่น วงจรชีวิตจะสั้นกว่าเขตที่มีอากาศเย็นกว่า ตัวอย่างเช่นเขตเกษตรที่ราบสูงอําเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ในช่วงฤดูร้อนเดือนเมษายน-พฤษภาคม วงจรชีวิตหนอนใยผักเฉลี่ย 17-18 วัน และในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม วงจรชีวิตหนอนใยเฉลี่ย 28-29 วัน หรือโดยเฉลี่ยมี 17 ชั่วอายุขัยต่อปี

ส่วนในเขตเกษตรที่ราบอําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม วงจรชีวิตหนอนใย ผักเฉลี่ย 14-18 วัน หรือโดยเฉลี่ยมี25 ชั่วอายุขัยต่อปีตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ หรือกลุ่มเล็กๆ ทั้งบนใบและใต้ใบพืช แต่จะพบใต้ใบพืชเป็นส่วนใหญ่

โดยเฉลี่ยตัวเต็มวัยเพศเมีย สามารถวางไข่ได้ประมาณ 50-400 ฟอง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอาหารที่กินในวัยหนอนระยะต่างๆ ไข่มีขนาด 0.8 มม. สีเหลืองอ่อน ค่อนข้างกลมแบน ระยะไข่2-4 วัน และจะเปลี่ยนเป็นสีดํา เมื่อใกล้จะฟักเป็นตัวหนอน หนอนเมื่อฟักจากไข่ใหม่ๆ จะมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 มม. มีลักษณะเรียวยาว หัวแหลมท้ายแหลม ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกเป็น 2 แฉก และมีสีเขียวอ่อนหรือเทาอ่อนหรือเขียวปนเหลือง เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรงและสร้างใยพาตัวขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับใบพืชได้

หนอนจะกัดกินผิวใบทําให้ผักเป็นรูพรุนคล้ายร่างแห ระยะหนอนมีการเจริญเติบโต 4 ระยะ ใช้เวลาเฉลี่ย 7-10 วัน และระยะสุดท้ายมีขนาดประมาณ 0.8-1 ซม. ก็จะเข้าดักแด้บริเวณใบพืช โดยมีใยบางๆ ปกคลุมติดใบพืช และมีขนาดประมาณ 1 ซม. ดักแด้ระยะแรกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนน้ำตาลเมื่อใกล้ฟักออกเป็นตัวเต็มวัยเฉลี่ยอายุระยะดักแด้3-4 วัน

ตัวเต็มวัย เมื่อออกจากดักแด้จะอาศัยอยู่ตามบริเวณต้นผัก ใต้ใบ ทั้งนี้เพราะตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 6-7 มม. ไม่ชอบบินไปไกลพืชอาหาร มีสีเทา ส่วนหลังมีแถบเหลืองส้ม ลักษณะหลายเหลี่ยมเหมือนเพชรที่เจียรนัยแล้ว หนวดเป็นแบบเส้นด้าย แต่ละปล้องมีสีดําสลับขาว ตัวเต็มวัยมีอายุขัยเฉลี่ย 5-7 วัน และจากการใช้กับดักแสงไฟ พบว่าตัวเต็มวัยทั้งเพศผู้และเพศเมียบินมาเล่นแสงไฟจากกับดักมากที่สุดเวลา 18.00-20.00 น. และมีอัตราส่วนเพศผู้: เพศเมียเท่ากับ 1 : 0.9 เช่นเดียวกับการใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง พบว่าตัวเต็มวัยมีช่วงเวลาที่บินมากที่สุดเวลา18.00-21.00 น. และมีอัตราส่วนเพศผู้: เพศเมียเท่ากับ 1:0.79

พืชอาหาร หนอนใยผัก

พืชผักตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลีกะหล่ำดอก กะหล่ำดอกอิตาเลียน กะหล่ำปมผักกาดเขียวปลีผักกาดขาวปลีผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดหัว ผักกาดดอก ผักกาดฮ่องเต้เป็นต้น

ศัตรูธรรมชาติ หนอนใยผัก

หนอนใยผักมีศัตรูธรรมชาติคอยควบคุมหลายชนิด ได้แก่ แมลงเบียนชนิดต่างๆ เช่น แตน เบียนไข่ (Trichogramma confusum Viggiani และ Trichogrammatoidea bactrae Nagaraja) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการควบคุมไข่หนอนใยผัก 16.2-45.2 เปอร์เซนต์แตนเบียนหนอน (Cotesia plutellae Kurdjumov และ Oomyzus sokolowskii Kurdjumov) มีประสิทธิภาพในการเข้าทําลายหนอนใยผัก 60-90 เปอร์เซ็นต์และแตนเบียนดักแด้(Thyrarella collaris (Gravenhorst)) มีประสิทธิภาพทําลายดักแด้23.28เปอร์เซ็นต์

วิธีป้องกันกําจัด หนอนใยผัก

1. การใช้กับดักชนิดต่างๆได้แก่

กับดักกาวเหนียวสีเหลือง

เป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องทาด้วยกาวเหนียว ทุก 7-10 วันครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อเพศเมีย : เพศผู้ได้0.79 : 1 และเมื่อติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลืองจํานวน 80 กับดักต่อไร่ สามารถลดการใช้สารกำจัดแมลงมากกว่า50เปอร์เซ็นต์

กับดักแสงไฟ

หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์เป็นหลอดเรืองแสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อหนอนใยผักมากที่สุด มีราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต์และปลอดภัยไม่มีอันตรายจากแสงอุลตร้าไวโอเล็ต ในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดําเนิน การติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่

กับดักสารเพศ

กับดักสารเพศของ Takeda ซึ่งมีส่วนผสมของ cis-II-hexadecenal : cis-II-hexadecenyl acetate : cis-II-hexadecenol ในอัตรา 5:5:0.1 จํานวน 0.1 มก. มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดักจับผีเสื้อหนอนใยผักเพศผู้และพบว่าจํานวนหนอนใยผักบนต้นผักมีความสัมพันธ์กับผีเสื้อที่จับได้ในกับดักสารเพศ ซึ่งปัจจุบันสารเพศล่อชนิดนี้ค่อนข้างหายาก

2. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง

โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 mesh (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถป้องกันการเข้าทําลายของหนอนใยผักและหนอนผีเสื้ออื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดอย่างมิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่

3. การใช้ศัตรูธรรมชาติ

การใช้แตนเบียนไข่

จากการทดลองปล่อยแตนเบียนไข่ อัตรา 60,000 ตัว/ไร่ สามารถควบคุมการระบาดของหนอนใยผักให้อยู่ต่ํากว่าระดับการทําลาย

การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส)

ปกติในธรรมชาติจะพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกําจัดหนอนใยผัก แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อปริมาณเชื้อแบคทีเรียที่จะทําให้หนอนใยผักตาย ปัจจุบันจึงมีการผลิตเชื้อแบคทีเรียในรูปการค้าออกจําหน่ายที่สําคัญมี2 สายพันธุ์คือ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai และ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki

4. การใช้วิธีทางเขตกรรม

สามารถช่วยลดการระบาดของหนอนใยผักได้เช่น การไถพรวนดินตากแดด หรือการทําลายซากพืชอาหาร หรือการปลูกพืชหมุนเวียน ทั้งนี้เพื่อขัดขวางการขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่องของหนอนใยผัก

5. การใช้ระดับเศรษฐกิจและการสุ่มตัวอย่าง

ในการพิจารณาพ่นสารกำจัดแมลงป้องกัน กําจัดหนอนใยผัก ควรสํารวจตรวจนับจํานวนหนอนใยผักก่อนตัดสินใจ โดยทําการสํารวจแบบซีเควนเชียล ซึ่งเป็นวิธีการที่รวดเร็ว สะดวก และมีความแม่นยําสูง ผลการใช้ตารางสํารวจสามารถลดการใช้สารกำจัดแมลงได้มากกว่า50เปอร์เซ็นต์

6. การใช้สารกำจัดแมลงศัตรูพืช

เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่สามารถสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้รวดเร็วและหลายชนิด โดยเฉพาะในแหล่งปลูกการค้า เช่น บางแค ไทรน้อยบางบัวทอง เป็นต้น

การพิจารณาเลือกใช้สารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ สามารถป้องกันกําจัดหนอนใยผักไม่ให้เข้าทําลายผลผลิตกะหล่ำปลีให้เกิดความเสียหายได้สารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกําจัดหนอนใยผัก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

มวนนักกล้าม แมลงศัตรูพืชตระกูลถั่ว ถั่วลิสง ถั่วแระ ถั่วฝักยาว?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

ต้นลัดดาวัลย์ (ลดาวัลย์) ชอบแดดไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก การขยายพันธุ์ ราคาถูก?

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

ต้นกระถินณรงค์ แตกต่าง กระถินเทพา ลักษณะ ข้อดี ประโยชน์ วิธีปลูก ขยายพันธุ์?

อิมิดาโคลพริด imidacloprid คืออะไร อันตรายไหม? ประโยชน์ ออกฤทธิ์ วิธีใช้ ราคา?

ต้นมั่งมี (เฉียงพร้านางแอ) มั่งมีศรีสุข ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

แคคตัส ดาวล้อมเดือน อิชินอปซิส Echinopsis calochlora ลักษณะเด่น วิธีปลูก ดูแล?