✓แหนแดง ปุ๋ยชีวภาพไนโตรเจนลอยน้ำ ประโยชน์ วิธีเพาะเลี้ยง?

แหนแดง (Azolla) เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก พบในเขตร้อนและเขตอบอุ่น อาศัยอยู่ทั่วไปบริเวณ น้ำนิ่ง เช่น คู หนอง บึง แหนแดงเปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการ ตรึงไนโตรเจนจากอากาศของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน 

โดยมีอัตราของการตรึงไนโตรเจนสูงถึงวันละ 300 - 600 กรัมต่อไร่ ทำให้แหนแดงมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูง 3 – 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง และสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวได้เป็นอย่างดี

แหนแดง โรงงานผลิตปุ๋ยชีวภาพไนโตรเจนลอยน้ำ

ในประเทศจีนและเวียดนามมีการใช้แหนแดงใน นาข้าวมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี สำหรับประเทศไทย กรมวิชาการเกษตรได้เริ่มศึกษาประสิทธิภาพของแหนแดงมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 ซึ่งมีรายงานว่าการปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ย พืชสดแหนแดงในช่วงก่อนปักดำ สามารถให้ผลผลิตข้าว

แหนแดง ปุ๋ยชีวภาพไนโตรเจนลอยน้ำ ประโยชน์ วิธีเพาะเลี้ยง

ได้เทียบเท่ากับการใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 4.8 กิโลกรัมไนโตรเจน ต่อไร่ และแหนแดงจะถูกย่อยสลายอย่างสมบูรณ์ภายในเวลา 30 วัน พบว่า ประมาณ 80% ของไนโตรเจนในต้นแหนแดง จะถูกปลดปล่อยออกมาภายใน 8 สัปดาห์ หลังจากการไถกลบ

รายละเอียดเพิ่มเติม

นอกจากนี้แหนแดงยังเหมาะสมสำหรับใช้เป็นอาหาร สัตว์ เนื่องจากแหนแดงมีองค์ประกอบของโปรตีน กรดอะมิโน ที่จำเป็น และแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบจำนวนมาก รวมทั้งสามารถใช้เป็นส่วนผสมของปุ๋ยอินทรีย์เพื่อช่วยลด อัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนอีกด้วย ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ปุ๋ยชีวภาพแหนแดงในรูปของปุ๋ยพืชสดมีประโยชน์มาในการ ช่วยลดหรือทดแทนปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งสามารถนำไปสู่ระบบ การเกษตรอย่างยั่งยืนได้

ลักษณะทั่วไปของแหนแดง

ต้นแหนแดง ที่เห็นอยู่ทั่วไปจัดอยู่ในระยะสปอโรไฟต์ (Sporophyte) ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ ลำต้น (main rhizome) มีลักษณะเป็นลำต้นสั้น ๆ แบบไรโซม (rhizome) แตกกิ่งออกสองข้างแบบสลับ แผ่ขนาน กับพื้นน้ำ ภายในลำต้นมีระบบท่อลำเลียง ประกอบด้วยกิ่ง แขนงเล็ก ๆ แตกออกด้านข้างเรียงสลับกันไป โดยกิ่งแขนง เล็ก ๆ แยกออกไปเป็นกิ่งแขนงย่อยอีกหลายชั้นขึ้นอยู่กับชนิด ของแหนแดง และเมื่อกิ่งแก่ กิ่งแขนงย่อยจะหลุดออกจาก สําต้นและเกิดเป็นต้นใหม่

ราก (root) รากของแหนแดงเป็นรากพิเศษยาวอยู่ ใต้ลำต้น เกิดตรงข้อด้านล่างของลำต้นทิ้งดิ่งลงไปในน้ำ ส่วนของปลายรากที่ยังอ่อนจะมีหมวกราก (root cap) หุ้มอยู่ และจะหลุดออกเมื่อรากเจริญเต็มที่และมีรากขนอ่อนขึ้นแทนที่ โดยรากขนอ่อนนี้เกิดจากการแบ่งของเซลล์ที่อยู่ตัวรอบ ๆ เซลล์ epidermal

ใบ (front) มีขนาดเล็กเป็นใบประกอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีก้านใบ มีใบย่อย 7 - 10 ใบ เรียงสลับซ้อนกันอยู่ 7 ใบย่อยแต่ละใบประกอบด้วย 2 ส่วน คือ กาบใบบน (dorsal lobe) และกาบใบล่าง (Ventral lobe) ทั้งสองกาบมีขนาด ใกล้เคียงกัน โดยกาบใบบนซึ่งอยู่บนผิวน้ำ มีสีเขียวเมื่อ ยังอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อแก่หรือเมื่อได้รับแสงแดด จัดเกินไป และมีโพรงใบรูปไข่ตรงกึ่งกลางด้านหลัง ซึ่งเป็น ที่อาศัยของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ส่วนกาบใบล่าง มีลักษณะบางและขนาดใหญ่กว่ากาบใบบนเล็กน้อย มีคลอโรฟิลล์น้อยมากจนเกือบไม่มีเลย ทำหน้าที่สร้างสปอร์ โรคาร์ป และเฮทเทอโรสปอร์ และเป็นทุนให้แหนแดง ลอยน้ำได้ รวมทั้งนำเข้าสู่ลำต้นแทนราก

แหนแดง ที่พบอยู่ทั่วโลกมีอยู่ด้วยกัน 7 ชนิด สำหรับ ในประเทศไทยนั้น มีพันธุ์พื้นเมืองกระจายอยู่ทั่วไปในภาค ต่าง ๆ เป็น สายพันธุ์อะซอลล่า พินาต้า (A. pinnata) ที่มี ขนาดเล็กและให้ผลผลิตต่ำ กรมวิชาการเกษตรจึงได้เริ่ม มีการนำสายพันธุ์จากต่างประเทศมาปรับปรุงและทดลอง พบว่า สายพันธุ์อะซอลล่า ไมโครฟิลล่า (A. microphylla) หรือสายพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์นั้น ให้ผลผลิตสูงกว่า สายพันธุ์พื้นเมืองถึง 10 เท่า

แหนแดง กับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

ความสัมพันธ์ของแหนแดงกับสาหร่ายสีเขียวแกม น้ำเงิน จะดำเนินแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยในตลอด ช่วงชีวิตของแหนแดงจะมีสาหร่ายสีเขียวแกมนําเงิน Anabaena azollae อาศัยอยู่ร่วมด้วย และยังสามารถถ่ายทอดจาก แหนแดงรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งได้โดยอัตโนมัติ ผ่านทางเซลล์ สืบพันธุ์ที่เรียกว่า megasporocarp และ microsporocarp

แหนแดงจึงเปรียบเสมือนโรงงานเล็ก ๆ ที่ผลิตปุ๋ย ไนโตรเจนให้แก่โลก โดยมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเป็น เครื่องจักร ตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้เปลี่ยนมาอยู่ในรูป ของสารประกอบแอมโมเนียม โดยไนโตรเจนที่ตรึงได้จาก สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในโพรงใบที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จะถูกเคลื่อนย้ายไปยังแหนแดงในรูปของแอมโมเนีย โดยจะสะสมอยู่ในส่วนปลายยอดมากกว่าส่วนต้น และแหนแดง จะดูดไปใช้อย่างรวดเร็วโดยผ่านทาง transfer cell หรือ terminal cell ของเซลล์ขนที่อยู่ภายในโพรงใบเข้าสู่ต้น 

แล้วเปลี่ยนไปเป็นสารประกอบไนโตรเจนรูปอื่น ๆ เช่น กรดอะมิโน เคลื่อนที่ไปสู่ยอดอ่อน นอกจากนี้แล้วสารประกอบไนโตรเจน บางส่วนยังเคลื่อนที่ผ่านออกไปทางเซลล์ขนที่อยู่บริเวณผิวใบ เพื่อเลี้ยงสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่ปลายยอดและอยู่ใน ระยะที่ไม่สามารถตรึงไนโตรเจน ในขณะเดียวกันสารประกอบ ที่ได้จากการสังเคราะห์แสงของแหนแดงก็จะเคลื่อนผ่านไป ยังโพรงใบ เพื่อให้สาหร่ายได้ใช้อย่างเพียงพอกับการเจริญ เติบโตและการตรึงไนโตรเจน

การขยายพันธุ์แหนแดง

แหนแดงมีการขยายพันธุ์ 2 แบบด้วยกัน คือแบบอาศัย เพศ และแบบไม่อาศัยเพศ ซึ่งการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ จะเกิดเมื่อแหนแดงอยู่ในระยะที่พร้อมจะผลิตสปอร์มีการ สร้างเซลล์สืบพันธุ์เป็นเพศผู้และเพศเมียแล้วมาผสมพันธุ์กัน โดยสปอร์จะแก่ในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์

จากนั้นจึงเจริญ เป็นต้นอ่อนแหนแดงที่มีโครโมโซมเป็น 2n (diploid) ส่วน การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เมื่อแหนแดงเจริญเติบโต เต็มที่จะแตกกิ่งแขนงออกจากต้นแม่ (rhizome) แบบสลับกัน เมื่อต้นแม่แก่จัดจะมีสีเขียวเข้ม แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็น สีน้ำตาล กิ่งแขนงย่อยจะหลุดออกมาเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วเจริญ เติบโตเป็นต้นใหม่ต่อไป

หรืออีกวิธีหนึ่งทำได้โดยการตัดต้น แม่ออกเป็นกิ่งย่อย และส่วนที่ตัดออกมาจะสามารถเจริญ เติบโตต่อไปได้ นอกจากนี้ในแปลงเลี้ยงแหนแดง สามารถ ทําได้โดยการใช้ไม้กวาดไม้ไผ่ หรือใช้ไม้แขนงตีเบา ๆ เพื่อให้ ต้นแหนแดงฉีกขาดออกจากต้นเดิม ทำให้การขยายพันธุ์เพิ่ม ปริมาณได้รวดเร็ว โดยการขยายพันธุ์ทั้ง 2 วิธีนี้ สามารถเพิ่ม ปริมาณของแหนแดงเป็นสองเท่า ภายใน 3 – 5 วัน ขึ้นอยู่ กับความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม

วิธีเพาะเลี้ยงแหนแดง

วิธีการเพาะเลี้ยงแหนแดงควรมีบ่อเลี้ยงแม่พันธุ์ไว้ ต่างหาก เนื่องจากแหนแดงมีไนโตรเจนสูง เนื้อเยื่อของแหน แดง ค่อนข้างอ่อน สัตว์และแมลงหลายชนิดจะเข้าทําลายได้ ง่าย เพราะฉะนั้นจะต้องมีบ่อเพาะเลี้ยงแม่พันธุ์ไว้ หากนำ แหนแดงลงไปใช้ในแปลง หรือถูกแมลงทำลายเสียหายหมด ก็ยังมีแม่พันธุ์แหนแดงที่เลี้ยงไว้ในบ่อใช้ได้ทันที โดยไม่ต้อง เสียเวลาไปหาแม่พันธุ์ใหม่

วิธีเพาะเลี้ยงแม่พันธุ์แหนแดง มีดังนี้

การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์

1. เตรียมบ่อปูนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร ปิดฝาที่ก้นบ่อ เจาะรูกลมขนาด 4 นิ้ว สูงจาก ก้นบ่อ 10 เซนติเมตร เพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำ แล้วใส่ท่อ พลาสติกที่มีฝาปิดเปิดเพื่อควบคุมระดับน้ำ

2. ใส่ดินผสมปุ๋ยคอกให้มีระดับความลึกของดินเท่ากับ ระดับด้านล่างของรูที่เจาะไว้ควบคุมระดับน้ำ แล้วเติมน้ำให้ สูงจากระดับผิวดินประมาณ 10 เซนติเมตร

3. ใส่แหนแดง 50 กรัม ลงในบ่อที่เตรียมไว้เพื่อเป็น แม่พันธุ์ แล้วเขี่ยแหนแดงกระจายให้เสมอทั่วบ่อ

4. เมื่อแหนแดงเจริญเติบโตเต็มบ่อจนแน่น (รอประมาณ 1-2 สัปดาห์) ให้ปล่อยน้ำออกจากบ่อจนมีระดับเท่าผิวดิน ที่ใส่ หรือนำาแหนแดงไปขยายต่อในที่ที่ต้องการ

5. นำแหนแดงที่ได้จากบ่อแม่พันธุ์ลงปล่อยในบ่อ ขนาดใหญ่ หรือกระชัง เพื่อเพิ่มปริมาณต่อไป การเลี้ยงในบ่อ ปูนควรนำมุ้งตาข่ายเขียวมาปิดปากบ่อเพื่อป้องกันแมลง เข้าทําลาย และเป็นการช่วยพรางแสงให้แหนแดงไปพร้อมกัน วิธีนี้จะช่วยให้แหนแดงมีการเจริญเติบโตที่ดียิ่งขึ้น

การเพาะเลี้ยงแหนแดงแบบบ่อขุด

เนื่องจากแหนแดงไม่ต้องการน้ำลึก จึงควรขุดบ่อให้มีลักษณะเหมือนท้องนา ขังน้ำให้ลึกประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร เรียกว่าเป็นบ่อน้ำตื้น ควรมีการพรางแสง หรือมีร่มไม้ร่ำไร ถ้ามีพื้นที่บ่อขนาด ประมาณ 5 ตารางเมตร ปล่อยแหนแดงลงไปประมาณ 10 กิโลกรัม ใช้เวลา 10 - 15 วัน

แม่พันธุ์แหนแดงจะเจริญเติบโต เต็มบ่อ สามารถตักแหนแดงไปปล่อยลงบ่ออื่น หรือนำไป ขยายต่อในพื้นที่ที่ต้องการได้ต่อไป ซึ่งควรจะปล่อยแหนแดง ลงบ่อก่อนฤดูฝน หากปล่อยในหน้าแล้ง ความชื้นในอากาศ น้อย อาจจะใช้เวลานานถึง 3 สัปดาห์ แหนแดงจึงจะเต็มบ่อ ดังนั้น จึงสามารถดัดแปลงปริมาณการใส่แหนแดงเริ่มต้นได้ ตามความเหมาะสม แหนแดงที่ขยายเติบโตเต็มที่จะได้น้ำหนัก แหนแดงสดประมาณ 1.5 - 20 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

แหนแดง ปุ๋ยชีวภาพไนโตรเจนลอยน้ำ ประโยชน์ วิธีเพาะเลี้ยง

ประโยชน์จากแหนแดง

1. สามารถทดแทน หรือลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลงได้ 2. เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินมีความอุดม สมบูรณ์มากขึ้น ปรับปรุงโครงสร้างดินดีขึ้นในระยะยาว

3. ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับพืชผักและไม้ผล เพิ่มทาง เลือกสําหรับการผลิตพืชอินทรีย์

4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ลดการดูดตรึง ฟอสเฟตของดิน

5. ใช้เป็นแหล่งโปรตีนสำหรับเลี้ยงสัตว์ เช่น สัตว์ เคี้ยวเอื้องจำพวกวัว ควาย แพะ รวมทั้งหมู เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น

6. มีต้นทุนการผลิตต่ำ แหนแดงเติบโตและขยายพันธุ์ ได้รวดเร็ว แม้เลี้ยงในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

7. ลดปริมาณวัชพืชในนาข้าว แหนแดงที่ขยายคลุม ผิวนํ้าจะทําให้แสงแดดส่องไม่ผ่าน จึงช่วยลดการเจริญเติบโต ของวัชพืชจําพวกสาหร่ายลงได้

ตัวอย่างการขยายผลแหนแดงสู่เกษตรกร ของ สวพ.6

เนื่องจากคุณประโยชน์ของแหนแดงมีมากมาย การส่งต่อแหนแดงให้ถึงมือเกษตรกรจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างยิ่ง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัด จันทบุรี (สวพ.6) มีแนวทางในการขยายผลโดยให้หน่วยงาน ภายใต้สังกัดจัดทำบ่อเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์แหนแดง เพื่อเป็น บ่อต้นแบบ และผลิตแจกจ่ายให้กับเกษตรกร ผู้สนใจนำไป เพาะเลี้ยงขยายเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

หน่วยงานที่ผลิตและ แจกจ่ายแหนแดง เช่น

  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรฉะเชิงเทรา
  • งานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

งานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าว

คุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ - งานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาปลวกแดง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ระยะเวลา 1 ปี (พฤษภาคม 2563 - เมษายน 2564) ในภาพรวมของ สวพ.6 สามารถผลิตแหนแดงแจกจ่ายไปไม่ น้อยกว่า 3,000 กิโลกรัม เกษตรกรส่วนหนึ่งทราบข้อมูลจาก การประชาสัมพันธ์ในงานนิทรรศการต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่จะ ทราบทางสื่อออนไลน์ ได้แก่ youtube facebook และหน้า เพจของหน่วยงาน ซึ่งช่องทางทางสื่อออนไลน์นี้มีส่วนสำคัญ มากที่ทำให้เกษตรกรทั่วประเทศเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

แต่เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การแจกจ่ายแหนแดงจึงได้ดำเนินการตาม รูปแบบ New Normal เพื่อป้องการการแพร่ระบาด โดย ส่งทางพัสดุไปทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 57 แต่ยังมีเกษตรกร ที่เดินทางมารับที่หน่วยงานเอง ร้อยละ 22 และนำไปแจกจ่าย ในการฝึกอบรม งานนิทรรศการต่าง ๆ อีกร้อยละ 21

ในส่วนของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรฉะเชิงเทรา นั้น ได้เริ่มผลิตแหนแดงเมื่อเดือน พฤษภาคม 2563 นอกจาก จะแจกจ่ายให้เกษตรกรแล้ว ยังสนับสนุนพร้อมให้ความรู้กับ กลุ่มเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าว แปลงใหญ่ข้าว ศพก.พืชผัก เพื่อ เป็นต้นแบบในการเพาะขยายแหนแดง

โรงเรียนตำรวจตะเวน ชายแดน 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดนบ้าน นายาว โรงเรียนมัธยมพระราชทานนายาว โรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนบ้านนาอิสาน และโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดกับพืชที่ ปลูกเป็นอาหารกลางวันของโรงเรียนพร้อมกับสอนนักเรียน ให้รู้จักวิธีเพาะขยายเพื่อนำความรู้กลับไปทำที่บ้าน และหน่วย งานของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรอำเภอนำไป ขยายแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป

เกษตรกรหรือผู้สนใจสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัย พัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 2579 7523

อ้างอิง: ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต; น.ส.พ. กสิกร กรมวิชาการเกษตร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นลัดดาวัลย์ (ลดาวัลย์) ชอบแดดไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก การขยายพันธุ์ ราคาถูก?

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

สตาร์เกิลจี วิธีใช้ยังไง ช่วยอะไร อันตรายไหม ซื้อที่ไหน ราคาถูก

✓ต้นไม้: ประวัติ 'กุหลาบ' Rose ความหมาย "ราชินีแห่งดอกไม้"?

ต้นพุดสี (พุดสีดา, พุดป่า, พุดสีดาดง) แตกต่างจาก พุดน้ำบุศย์ ลักษณะ ดอกหอมแรง?

✓ต้นไม้: 'ไคร้น้ำ' ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางยา สมุนไพร?

ต้นโมกเขา (โมกราชินีดอกส้ม, โมกสามร้อยยอด) วิธีปลูกต้นโมกเขา ขยายพันธุ์ ราคา?