เฟิร์นข้าหลวงฟิลิปปินส์ พันธุ์ 'มาดาม แองเจลเลส' Angeles ลักษณะเด่น ความเป็นมา?
ข้าหลวงฟิลิปปินส์ พันธุ์ แองเจลเลส เป็นลูกไม้ที่เกิดจากการเพาะสปอร์ข้าหลวงฟิลิปปินส์กลุ่ม จักรพรรดินี (Empress) ซึ่งนาง Adelia Angeles คหบดีชาวเมือง Antipolo ประเทศฟิลิปปินส์ ได้มอบให้ผู้ ขอขึ้นทะเบียนตั้งแต่ปี 2552
แหล่งที่มาและประวัติพันธุ์
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2553 จึงนำสปอร์มาเพาะ และต่อมาในปี พ.ศ. 2557 จึงได้ คัดเลือกต้นที่มีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มจักรพรรดินี คือ มีการแตกแขนงของขอบใบและที่ปลาย แขนงมีลักษณะเป็นริ้วขอบขนาน
ในประชากรรุ่นลูกที่จัดในกลุ่มจักรพรรดินีจำนวนประมาณ 20 ต้น มีต้น หนึ่งที่มีลักษณะพิเศษคือ ไม่เน่าง่ายเหมือนข้าหลวงฟิลิปปินส์ทั่วไป มีการแตกแขนงของขอบใบที่บริเวณใกล้ โคนใบด้วย พ.ศ. 2557-2559 จึงได้ขยายพันธุ์ด้วยการฝ่ายอดแล้วแยกหน่อ เพื่อติดตามความคงตัวของลักษณะประจำพันธุ์ระหว่างปี 2559-2564 แล้วตั้งชื่อพันธุ์ให้เป็นเกียรติแก่นาง Adelia Angeles ซึ่งเสียชีวิต เมื่อเดือนมีนาคม 2553
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ข้าหลวงฟิลิปปินส์ พันธุ์ 'มาดาม แองเจลเลส' ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Asplenium colubrinum 'Madam Angeles' เป็นพันธุ์พืชในกลุ่มเฟิร์น ในสกุล Asplenium ซึ่งถูกจัดอยู่ในวงศ์ Aspleniaceae.
ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์
- ชื่อไทย: ข้าหลวงฟิลิปปินส์ พันธุ์ มาดาม แองเจลเลส
- ชื่อวิทยาศาสตร์: Asplenium colubrinum 'Madam Angeles'
- วงศ์: Aspleniaceae
ลักษณะ: เป็น พืชไม่มีเนื้อไม้ อายุหลายปี
ต้น: ทรงพุ่มบานออก เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มประมาณ 138 เซนติเมตร ทรงพุ่มสูงประมาณ 47 เซนติเมตร ต้นอายุประมาณ 5 ปี จากการเพาะสปอร์ มี 58 ใบ
ใบ: ใบเดี่ยว เรียงรอบต้น ใบรูปรี ปลายใบรูปเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ใบเต็มวัย กว้างประมาณ 21 เซนติเมตร ยาวประมาณ 83 เซนติเมตร ช่วง1/10 ใกล้โคนใบมีการแตกแขนงของขอบ แผ่นใบห่างกันพอประมาณ ทำให้ลักษณะยื่นเป็นกิ่งจากขอบแผ่นใบอย่างชัดเจน
ส่วนช่วง 1/3 - 1/2 ด้านปลายใบมีการแตกแขนงของขอบแผ่นใบ ค่อนข้างชิดกัน แขนงที่เกิดขึ้นจาก ขอบใบ มีการแตกแขนงได้มากที่สุดถึง 3 ระดับ โดยไม่มีการแตกแขนงของเส้นกลางใบ ด้านหน้าของใบเต็มวัยมีสีเขียวเข้ม ด้านหลังของใบเต็มวัยมีสีเขียว มีกลุ่มอับสปอร์เรียงขนาน กันเป็นเส้นยาวประมาณ 0.2 - 0.3 เซนติเมตร
เส้นกลางใบด้านหน้าใบนูนมนชัดเจน มีสี น้ำตาลเข้มเกือบดำจนเกือบถึงปลายใบ เส้นกลางใบด้านหลังใบนูนมนน้อย ก้านใบขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.4 – 2.8 เซนติเมตร
ผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน โดย นายสุรวิช วรรณไกรโรจน์