ต้นโสกระย้า ราชินีแห่งไม้ดอกยืนต้น ประวัติ ลักษณะ วิธีปลูก ออกดอกช่วงเดือนไหน?
ดอกโสกระย้า ช่อดอกใหญ่ สีแดงเข้ม ห้อยระย้า สวยงาม สะดุดตา เหมือนโคมไฟระย้าในคฤหาสน์หรู ดูแพง น่าหลงใหล ทำให้ถูกจัดว่าเป็นไม้ดอกยืนต้นที่สวยงามที่สุดในโลก เป็น "Queen of flowering tree" ซึ่งสื่อถึง ราชินีแห่งไม้ดอกยืนต้น
โสกระย้า ราชินีแห่งไม้ดอกยืนต้น
โสกระย้า ไม่ใช่ พันธุ์พืชดั้งเดิมของไทย แต่โดยการปรากฏตัวครั้งแรกของ โสกระย้าในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นเมื่อสมัยที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเยือนประเทศพม่าในปี พ.ศ. 2415
ในขณะนั้นผู้สำเร็จราชการที่ตามเสด็จได้นำต้น โสกระย้ามาปลูกไว้ ในที่ที่ปัจจุบันคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ต้นโสกระย้าต้นนี้น่าจะเป็นต้นกำเนิดของต้นโสกระย้าหลาย ๆ ต้นที่มีอยู่ในประเทศไทย
โสกระย้า ภาษาอังกฤษ
โสกระย้า มีชื่อสามัญ Ambertia หรือ Pride of Burma เป็นไม้ถิ่นเดียว และมีต้นกำเนิดอยู่ในป่าของพม่า โสกระย้า อยู่ในวงศ์ Fabaceae เป็นพืชชนิดเดียวในสกุล Amherstia
ชื่อวิทยาศาสตร์ Amherstia nobilis Wall ชื่อเรียก Amherst มาจากชื่อของเคาท์เตส Amherst และ เลดี้ Amherst นักสํารวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ในแถบเอเชียบริเวณ ประเทศอินเดียและใกล้เคียงรวมถึงพม่า
ด้วยเสน่ห์ความ น่าดึงดูดใจชวนให้มองแล้วมองอีกของช่อดอกของโสกระย้า ที่ออกดอกและบานในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์
ช่อดอกที่สวยงามมากของโสกระย้าทำให้ถูกจัดว่าเป็น ต้นไม้ที่สวยงามที่สุดในโลก เป็น Queen of flowering tree ซึ่งสื่อ ความหมายถึงลักษณะการออกดอกที่น่าตะลึงพรึงเพริด
ดอกโสกระย้า ออกดอกช่วงไหน
ดอกโสกระย้า เริ่มติดดอกช่วงเดือนมกราคม ทยอยบานสลับกันไปจนถึงเดือน กุมภาพันธ์ สภาพเดิมที่พบโสกระย้าในป่าดิบชื้น หรือทางภาค เหนือของประเทศไทย
ลักษณะ โสกระย้า
ดอกโสกระย้า จะออกรวมเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลาย กิ่ง หนึ่งช่อจะมีดอกเดี่ยวราว ๆ 16 - 20 ดอก ช่อดอกห้อยลง ยาว 30 - 60 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 5 - 10 เซนติเมตร สีแดงเข้ม กลีบเลี้ยง 4 กลีบ
ลักษณะคล้ายกลีบดอก รูปขอบ ขนานแคบ กว้าง 0.5 - 2 เซนติเมตร ยาว 3 - 5 เซนติเมตร ปลายมน กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน คู่ล่างเล็ก คู่ด้าน ข้างคล้ายรูปช้อน สีแดง ปลายเหลือง กลีบบนเป็นแผ่นคล้าย รูปพัด ตรงกลางเว้าสีเหลืองในกรอบเส้นรูปตัววีสีแดง ดอกบานเต็มที่กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร
ต้นโสกระย้า เป็นไม้ต้นขนาด กลาง สูง 5 - 15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมแน่น ทีม กิ่งอ่อนห้อยย้อยลงและมีขนละเอียด เปลือกเรียบสีน้ำตาล ปนดำ มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลกระจายทั่วไป
ใบเป็นใบ ประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อย 6 - 8 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง 3 - 4.5 เซนติเมตร ยาว 5 - 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเข้า คู่ใบ ทางด้านโคนมีขนาดเล็กกว่าทางด้านปลาย
ผิวใบด้านบนสี เขียว ด้านล่างสีเทา มีใบประดับย่อยสีแดง ติดทนไม่ร่วงง่าย กว้าง 2 - 6 เซนติเมตร ยาว 10 - 24 เซนติเมตร เส้นแขนง ใบข้างละ 10 - 12 เส้น ก้านใบยาว 0.8 - 1 เซนติเมตร
ชื่อ "โสก" แต่น่าหลงใหล
เสน่ห์ของโสกระย้า นอกเหนือจากความอลังการของ ช่อดอกและสีสันสดใสเกินบรรยายแล้ว ในทัศนะของผู้เขียน คิดว่าไม่เพียงแต่ช่วงปีใหม่เท่านั้นที่โสกระย้าจะน่ามอง
แต่มีเสน่ห์ที่สามารถปรากฏโฉมให้ชื่นชมได้ทั้งปีอย่างต่อเนื่อง คือ ยอดใหม่ของโสกระย้าที่มีสีม่วงเข้ม ทิ้งตัวเป็นหลอด ห้อย ย้อย อยู่ที่ปลายยอดทุกยอดพร้อม ๆ กันรอบต้น
ลักษณะยอดใหม่ เป็นสีและรูปลักษณ์ประจำต้นไม้ที่มีคำนำหน้าว่า “โสก” ทุกชนิด เพียง แต่สีของยอดอ่อนโสกระย้าจะเข้มกว่าโสกอื่น ๆ ที่ลักษณะนี้ น่าจะเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวเลยทีเดียว
สถานภาพ โสกระย้า
ในปัจจุบันพบว่าต้นโสกระย้า เป็นไม้ประดับที่ปลูก ตามบ้านเรือน แต่ก็ไม่ดาษดื่นทั่วไปนัก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ด หรือ ตอนกิ่ง หลายคนพยายามจะซื้อ ต้นที่เป็นกิ่งตอน พร้อมดอกสวยงามตอนที่อยู่กับคนขาย มาปลูก
แต่มีน้อยคนที่จะประสบความสำเร็จในการปลูกต้นโสกระย้า ให้ออกดอกได้ในสวนของตนเอง ส่วนมากต้นจะค่อย ๆ ตายไป เนื่องจากต้องพิถีพิถันในการปลูกเลี้ยง
ผู้เขียนทดลองซื้อกิ่งตอนมาปลูกหลายครั้ง เพิ่งจะประสบความสำเร็จในต้นโสกระย้า รุ่นปัจจุบันที่ปลูกจากต้นที่เพาะเมล็ดเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา แม้ต้นโสกระย้าจะไม่มีโรค หรือแมลงที่เข้าทำลายจนมีความเสียหายก็ตาม แต่ในช่วงที่ ต้นยังเล็กจะเจริญเติบโตช้ามาก
เมื่อเริ่มเจริญเติบโตมีลำต้น แข็งแรง ลำต้นนี้น่าจะมีกลิ่นหอมหรือมีความหวานที่มักจะมี กระรอกหรือสัตว์กัดแทะจนต้นเป็นรอยแหว่ง โดยที่ต้นไม้ชนิดอื่นไม่ได้รับความสนใจจากสัตว์กัดแทะตัวเดียวกันเลย ต้นที่โตช้าอยู่แล้วจึงยิ่งช้าลงไปอีก
วิธีปลูก ต้นโสกระย้า ให้ออกดอก
ต้นโสกระย้าต้องการแสงปานกลาง ในช่วงแรก ๆ ต้องมีร่มเงา หรือการบังแดดพอประมาณ เพราะ สังเกตุจากอาการขอบใบไหม้ในฤดูหนาวที่ต้นไม้ประธานผลัดใบ แต่หากดูแลรักษาประคับประคองจนกระทั่งต้นมีความสูง และ แข็งแรงขึ้นระดับหนึ่งแล้ว ก็สามารถวางใจได้
เพราะต่อจากนั้น การเจริญเติบโตจะรวดเร็วขึ้น มีการแตกยอด แตกพุ่มใหม่ อย่างต่อเนื่อง ในรอบหนึ่งปี อาจจะมีการแตกยอดใหม่แทบ จะทุกเดือน สามารถทนแดดได้ดีขึ้น
เมื่อต้นโตเต็มที่สามารถ อยู่กลางแดดจัดได้โดยไม่ต้องอาศัยร่มเงาอีก ผู้อ่านอาจจะ สงสัยว่าทําไมเคยอยู่ใต้ร่มเงาแล้วเมื่อต้นโตแข็งแรงขึ้นจึงทำให้ ย้ายมาอยู่กลางแดดเต็มที่ได้
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะบังเอิญ ช่วงก่อนปีใหม่ได้มีการตัดแต่งต้นไม้ที่เป็นร่มเงาเดิมออกเพื่อ ไม่ให้มีกิ่งไม้ไปรบกวนทัศนียภาพของถนนส่วนกลางที่คนในหมู่บ้านใช้ร่วมกัน
แต่เพราะเหตุการณ์นี้ จึงทำให้ทราบว่า ต้นโสกระย้าสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ หากต้น มีอายุพอสมควร และมีความแข็งแรงในระดับหนึ่งแล้ว
บทสรุปส่งท้าย
มีหลายคนคิดว่า "โสกระย้า" เป็นชื่อต้นไม้ที่ฟังแล้ว ไม่สดชื่นเอาเสียเลย ทรงพุ่มก็ดูไร้ทิศทาง และการเรียง ของใบก็ดูจะลู่ ๆ ตก ๆ อย่างไรก็ไม่รู้
ผู้เขียนในฐานะที่เป็น ผู้เฝ้าดูการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ อยากจะบอกให้ ผู้อ่านที่มีความคิดคล้าย ๆ กับที่กล่าวมา ลองเปลี่ยนใจ มามองในมุมใหม่ แล้วจะทราบว่า ถึงต้นไม้ต้นนี้จะชื่อว่า โสกระย้า แต่แค่เห็นดอกแม้เพียงดอกแรกท่านก็จะต้อง หลงใหลอย่างแน่นอน.