✓ต้นไม้: เข็มน้ำ(เข็มตูดหมา) เข็มป่าดอกหอมพื้นเมืองของไทย?
ชื่อไทยของพรรณไม้ชนิดนี้ มีชื่อทางการ ว่า "เข็มน้ำ" ซึ่งอ้างอิงตามข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย
โดย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2557) และยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง
หรือ ชื่อท้องถิ่น อีกหลายชื่อ เช่น เข็มป่า, เข็มตูดหมา, เข็มพูดหมา เป็นต้น
เข็มน้ำ
ต้นเข็มน้ำ มีถิ่นอาศัย พบตามป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่าบุ่งป่าทาม มักพบตามป่าที่กำลังฟื้นตัว ชายป่า ในเขตที่ราบน้ำท่วมถึงหรือตามริมน้ำ ที่มีแสงรำไร-ที่โล่ง ที่ระดับความสูงไม่เกิน 700 ม. เกือบทั่วประเทศ ในภาคเหนือตอนบนพบที่จังหวัดลำปาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ เข็มน้ำ
- เข็มน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ixora nigricans R.Br. ex Wight & Arn.
- อยู่ในวงศ์ Rubiaceae
ข้อมูล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นเข็มน้ำ มีลักษณะเป็น ไม้พุ่ม สูง 1–3 ม. ตามกิ่ง ใบ และช่อดอกเกลี้ยง
ใบเข็มน้ำ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปหอกกลับหรือรีแกมขอบขนาน ยาว 12–20 ซม. ก้านใบยาว 1–1.5 ซม.
ดอกเข็มน้ำ กลีบดอกเป็นหลอดสีขาว ยาว 3–5 ซม. ปลายกลีบแยก 4 แฉก อาจมีสีชมพูที่ปลาย
ผลเข็มน้ำ ผลกลม กว้าง 10 มม. ผลอ่อนสีเขียวไม่มีลาย
*จุดเด่นที่ดอกหรือใบแห้งมีสีดำ
ประโยชน์ เข็มน้ำ
มีศักยภาพเป็นไม้ดอกไม้ประดับ และมีสรรพคุณทางด้านสมุนไพร
สรรพคุณ เข็มน้ำ
แก่นหรือราก : รักษาไข้ป่า แก้พิษแมงมุม
อ้างอิง