✓ต้นไม้: โฮย่าภูวัว (Hoya phuwuaensis) พบที่ ภูวัว จ.บึงกาฬ?
โฮย่าภูวัว เป็นโฮย่าพื้นเมืองของไทยที่พบได้ตาม สถานที่พบคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ มีถิ่นที่อยู่อาศัยคือพบขึ้นอยู่ในพื้นที่เปิดโล่ง รับแสงเต็มที่ ในป่าผสมผลัดใบ ที่สูงจากระดับทะเลประมาณ 200 ม.
โฮย่าภูวัว (Hoya phuwuaensis)
โฮย่าภูวัว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hoya phuwuaensis Kidyoo, คำระบุชนิดว่า 'phuwuaensis' อ่านว่า ภูวัวเอ็นสิส หมายถึง พบที่ภูวัว
- ชั้น (Clade/Class) : Mesangiosperms
- ชั้นย่อย (Clade/Subclass) : Asterids
- กลุ่ม (Group) : Spermatophytes
- อันดับ (Order) : Gentianales
- วงศ์ (Family) : Apocynaceae
- วงศ์ย่อย (Subfamily) : Asclepiadoideae
- สกุล (Genus) : Hoya
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ โฮย่าภูวัว (Hoya phuwuaensis)
ต้นโฮย่าภูวัว มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยอิงอาศัย ยาวประมาณ 2 ม. ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวอมเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนรูปลิ่มถึงแหลม
มีต่อมโคนรูปไข่ถึงรูปขอบขนานขนาดเล็ก ขอบเรียบถึงเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนสีเขียวเข้มมีแต้มสีขาว มีขนแข็งสาก ด้านล่างสีเขียวอ่อน มีขนแข็งเอนประปราย
ดอกโฮย่าภูวัว ช่อดอกออกเหนือซอกใบ มี 18-20 ดอก ดอกตูมรูปทรงห้าเหลี่ยมด้านเท่า กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายแหลม ผิวสาก ด้านบนมีต่อมโคนรูปไข่อยู่ระหว่างแฉก
กลีบดอกรูปวงล้อ กลีบดอกสีขาวนวลหรือสีขาวอมเหลือง ผิวด้านบนมีขนยาวตรงหนาแน่นบริเวณขอบแฉก แฉกกลีบดอกรูปไข่ ปลายเรียวแหลม โค้งและม้วนลง กะบังรอบสีแดงอมม่วง เกสรเพศเมียมีรังไข่ 2 รังไข่ชัดเจน เกลี้ยง
ผลโฮย่าภูวัว ผลแบบผลแตกแนวเดียว รูปแถบแกมรูปใบหอก สีเขียวอ่อนมีจุดประสีน้ำตาลแดงกระจายทั่วไป เมล็ดรูปขอบขนานแคบ มีขนกระจุกปลายสีขาวคล้ายไหมด้านหนึ่ง
- วันที่เก็บตัวอย่าง: 12/09/2008
- ตัวอย่างต้นแบบ: M. Kidyoo 1035 (holotype BKF,isotype BCU)
- ปีที่ตีพิมพ์: ปี 2559
เอกสารอ้างอิง
- Kidyoo, M. 2016. “Hoya phuwuaensis (Apocynaceae: Asclepiadoideae), a new species from Northeastern Thailand”. Phytotaxa 282 (3): 218–224.
อ้างอิง : ข้อมูลและภาพ จาก พิพิธภัณฑ์พืช ศ.กสิน สุวตะพันธุ์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย