✓การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ จากต้นไม้ดอกหอม ดอกไม้หอม?

พรรณไม้ดอกหอมพื้นเมืองของไทยมีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทั่วประเทศ การอนุรักษ์โดยหน่วยงานของรัฐบาลเพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากพี่น้องคนไทยทั่วประเทศคงจะไม่ประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน อีกทั้งการอนุรักษ์ในพื้นที่ถิ่นกำเนิดต้องเสี่ยงกับปัญหาคุกคามรอบด้าน ...

การใช้ประโยชน์ จากต้นไม้ดอกหอม

ไม่ว่าจะเป็นไฟป่า อุทกภัย วาตภัย ธรณีพิบัติภัยและปัญหาจากการทำลายของมนุษย์ บทเรียนนับแต่อดีตถึงปัจจุบันได้สอนและตอกย้ำให้รู้ว่า พรรณไม้ดอกหอมพื้นเมืองได้สูญพันธุ์ไปจากถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติแล้วหลายชนิด เช่น รวงผึ้งและปาล์มเจ้าเมืองตรัง 

ลักษณะของพรรณไม้ดอกหอมในประเทศไทย การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์

แต่ยังนับว่าโชคดีที่บรรพบุรุษไทยได้นำต้นรวงผึ้งและต้นปาล์มเจ้าเมืองตรงมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน สวนสาธารณะ และสวนพฤกษศาสตร์ ซึ่งถือเป็นการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิด จึงช่วยให้มีชีวิตรอดมาจนถึงวันนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

พรรณไม้ดอกหอม เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่บรรพบุรุษไทยได้อนุรักษ์เพื่อมอบให้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน ควรที่พวกเราจักได้ภาคภูมิใจและร่วมมือกันอนุรักษ์พัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้อยู่คู่แผ่นดินไทยสืบไป

"ไม้ดอกหอม" หมายถึง พรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่มีต่อมน้ำหอม ทำหน้าที่ผลิตสารหอมระเหยอยู่ภายใน ซึ่งส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายได้แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด อีกทั้งระดับความหอมก็มีทั้งที่หอมมาก หอมน้อย และหอมอ่อนๆ นอกจากนี้ยังมีช่วงเวลาในการส่งกลิ่นหอมไม่ตรงกัน

ไม้ดอกหอมบางชนิดส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา ทั้งกลางวัน และกลางคืน หลายชนิดส่งกลิ่นหอมเฉพาะบางช่วงเวลา เช่น เมื่อเริ่มแย้มในช่วงพลบค่ำ หรือในยามดึก เช้าตรู่ ช่วงสาย ยามบ่าย จนถึงช่วงเย็น นับเป็นจุดเด่นที่สำคัญ จนกลายเป็นสิ่งดึงดูดใจให้ผู้ที่รัก และชื่นชมไม่คอกหอมใฝ่หามาปลูกเลี้ยงกันมากนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

และถ้าไม้ดอกหอมเหล่านั้นมีรูปร่างสวยงาม หรือมีสีสันเด่นสะดุดตาด้วยแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มเสน่ห์มากขึ้นเป็นทวีคูณ แต่ส่วนใหญ่ดอกไม้ที่เป็นแหล่งความหอมมักมีกลีบดอกสีขาว หรือสีอ่อนๆ ดอกบานในช่วงกลางคืน ส่งกลิ่นหอมในยามค่ำคืน ต่างกับดอกไม้ที่ไร้กลิ่นหอม และบานในช่วงกลางวัน ที่มักมีสีสันรูปร่างเด่นสะดุดตา

หากมองย้อนลงไปในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้เป็นตำรา หรือปรากฏอยู่ในวรรณคดีที่มีการประพันธ์ไว้ในสมัยต่างๆ จะพบว่าไม้ดอกหอมได้รับความนิยมมาโดยตลอด ดังเช่นใน สมัยสุโขทัย จากไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวถึงไม้ดอกหอมบางชนิดที่รู้จักกันในสมัยนี้ เช่น จำปี พุด ลำดวน

และ ในตำรายาไทยยังได้กล่าวถึง เกสรทั้งห้า เกสรทั้งเจ็ด และเกสรทั้งเก้า ซึ่งก็มาจากเกสรของไม้ดอกหอมหลายชนิด ได้แก่ มะลิ พิกุล สารภี บุนนาค บัวหลวง จำปา กระดังงา ลำควน และลำเจียก ซึ่งถือได้ว่า เป็นไม้ไทยที่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย หรือกระจายพันธุ์มาจากประเทศใกล้เคียง

ลักษณะของพรรณไม้ดอกหอม

พรรณไม้ดอกหอมที่มีการปลูกกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยตามบันทึกดังกล่าว จะพบว่า ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นที่มีการคัดเลือกมาจากป่า มีอายุยืนเมื่อปลูกครั้งเดียวก็สามารถใช้เป็นไม้ประดับไปได้เป็นระยะเวลายาวนาน เนื่องจากเป็นไม้ไทยพื้นเมือง เมื่อนำมาปลูกแล้วสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพถิ่นที่ปลูกใหม่ได้เป็นอย่างดี มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่มีปัญหาเรื่องโรคและแมลง แต่อย่างใด

ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อกับสมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เริ่มมีการนำพรรณไม้ดอกหอมจากต่างประเทศเข้ามาปลูกกันมาก จะพบว่าลักษณะของพรรณไม้ดอกหอมมีความหลากหลายมากขึ้น มีทั้งชนิดที่เป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่มรอเลื้อย และพรรณไม้น้ำหลายชนิด

ยิ่งในยุคปัจจุบันด้วยแล้ว ลักษณะของพรรณไม้ดอกหอมก็ยิ่งมีความหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งไม้ล้มลุกหลายชนิดที่กำลังได้รับความนิยม มีพันธุ์ลูกผสมที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จำนวนมาก โดยบางชนิดมีการปลูกกันจำนวนมากจนกลายเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจ เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ และบัว เป็นต้น

พรรณไม้ดอกหอม สามารถแบ่งออกตามลักษณะของพรรณไม้ ได้ดังนี้

1. ไม้ล้มลุกดอกหอม

ไม้ล้มลุกดอกหอม หมายถึงพรรณไม้ที่มีอายุตั้งแต่ 4-12 เดือน เมื่อออกดอกแล้วก็มักจะตาย เช่น บานเย็น หงอนไก่ ทานตะวัน ดาวเรือง ผกากรอง นอกจากนี้ยังมีไม้กึ่งล้มลุกกึ่งยืนต้น มีอายุเกินกว่า 2 ปี ซึ่งให้ดอกได้หลายรอบ เช่น บัว กาหลา พลับพลึง กุหลาบ พุทธรักษา ซ่อนกลิ่น มหาหงส์ การะเกด รักเร่ เป็นต้น

2. ไม้พุ่มดอกหอม

ไม้พุ่มดอกหอม หมายถึงต้นไม้ยืนต้นมีอายุนานหลายปี ขนาดพุ่มมีหลายขนาด และสามารถออกดอกได้หลายรอบ แบ่งออกเป็นไม้พุ่มต่ำและไม้พุ่มกลาง มีความสูงตั้งแต่ 3-6 เมตร ดังนี้

  • ไม้พุ่มต่ำ ได้แก่ นางแย้ม นมสวรรค์ มะลิลา มะลิซ้อน พุดลา พุดจีบ พุดซ้อน ปาหนัน มณฑา เป็นต้น
  • ไม้พุ่มกลาง ได้แก่ กรรณิการ์ จำปี จำปา กาหลง ลั่นทม ชงโค ลำดวน บุหงา นมแมวสุพรรณิการ์ โยทะกา ประยงค์ เป็นต้น

3. ไม้เลื้อยดอกหอม

ไม้เลื้อยดอกหอม หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไม้เถา หมายถึง พรรณไม้ที่ต้องอาศัยเกาะไปตามรั้วซุ้ม ต้นไม้ใหญ่ ศาลา ไม้เถาเป็นต้นไม้ที่มีลำต้นไม่แข็งแรงพอที่จะทรงตัวตั้งเหมือนไม้ต้นได้ จะต้องพึ่งพาแอบอิงต้นไม้หรือสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง หรือเลื้อยไต่พันไปตามสิ่งที่เราจัดเตรียมไว้ เช่น ซุ้ม หลักรั้ว เป็นต้น ไม้เถามีมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไม้เลื้อยเถาใหญ่ เถากลาง หรือเถาเล็ก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

  • ไม้เถาล้มลุก คือ พรรณไม้ที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี เมื่อออกดอกแล้วไม่นานก็จะตาย เช่น ขจร ดอกผึ้ง ฯลฯ
  • ไม้เถายืนต้น คือพรรณไม้ที่มีอายุอยู่ได้หลายปี ลักษณะเถาจะเหมือนลำต้นที่แข็งแรง คือมีเถาใหญ่ และมีมือจับที่เหนียวเลื้อยไปได้ไกล เช่น การเวก นมตำเลีย เล็บมือนาง ฯลฯ

4. ไม้ยืนต้นดอกหอม

ไม้ยืนต้นดอกหอม หมายถึงพรรณไม้ใหญ่ที่ทำหน้าที่ให้ร่มเงา สร้างความรื่นรมย์ ผ่อนคลาย หลายชนิดให้ดอกสวยงามมากมีกลิ่นหอมและไม่มีกลิ่น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ไม้ต้นขนาดใหญ่ มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป เช่น นนทรี ตะแบก ประดู่ เป็นต้น
  • ไม้ต้นขนาดกลาง มีความสูงตั้งแต่ 5-15 เมตร เช่น ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ ชงโค

5. ไม้น้ำดอกหอม

ไม้น้ำดอกหอม รวมหมายถึง พืชใต้น้ำ พืชโผล่เหนือน้ำ พืชลอยน้ำ และพืชชายน้ำ ซึ่งสามมารถแบ่ง ได้ 3 ประเภทใหญ่ ดังนี้

  • พืชลอยน้ำ ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุอยู่ได้นานหลายปี มีทั้งประเภทลำต้นทอดยาวไปตามผิวน้ำ และลำต้นที่โผล่ขึ้นมาจากใต้น้ำรวมกันเป็นกอ และแตกใบเหนือน้ำ ใต้กอมีรากฝอย เป็นกลุ่มใหญ่รวมตัวกันเป็นกระจุกอยู่ใต้น้ำ เช่น ผักตบชวา กระจับ ฯลฯ
  • พืชโผล่เหนือน้ำ หมายถึง พืชที่มีเหง้า หรือไหลอยู่ใต้ดิน และมีก้านใบยาวโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ เช่น บัวต่างๆ
  • พืชชายน้ำ หมายถึง ไม้ชายน้ำ ที่สามารถขึ้นตามพื้นดิน บนบกก็ได้ อยู่ริมน้ำก็ได้ หรือพื้นที่น้ำท่วม น้ำขังก็ได้ เช่น พุทธรักษา โมก พลับพลึง เป็นต้น

6. ไม้คลุมดิน

ไม้คลุมดิน หมายถึง ไม้พุ่มที่มีทั้งไม้ดอกและไม้ใบรวมกัน ลักษณะเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้น หรือใบคลุมผิวดิน มีความสูงไม่เกิน 1 ฟุต บางชนิดมีต้นทอดเลื้อยคลุมดิน บางชนิดขึ้นเป็นพุ่ม บางชนิดขึ้นเป็นกอ ได้แก่ หนวดปลาดุก เทียนทอง คุณนายตื่นสาย แววมยุรา ระฆังทอง ฯลฯ

อ้างอิง : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นลัดดาวัลย์ (ลดาวัลย์) ชอบแดดไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก การขยายพันธุ์ ราคาถูก?

ต้นมั่งมี (เฉียงพร้านางแอ) มั่งมีศรีสุข ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

ต้นกระถินณรงค์ แตกต่าง กระถินเทพา ลักษณะ ข้อดี ประโยชน์ วิธีปลูก ขยายพันธุ์?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

ต้นหมันดง, ตังบี้ ลักษณะ ผลสุก รสหวาน มีเมือกเหนียว ประโยชน์ ออกดอกเดือนไหน?

✓ต้นไม้: เงี่ยงดุก (หนามเงี่ยงดุก) ลักษณะ ผลไม้กินได้ สมุนไพร?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

ผักคะนองม้า(เต่าเกียด) ลักษณะ ประโยชน์ ยอดอ่อน กินได้ เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบ?

มวนนักกล้าม แมลงศัตรูพืชตระกูลถั่ว ถั่วลิสง ถั่วแระ ถั่วฝักยาว?