✓ต้นไม้: เข็มภูลังกา (เข็มก้นปิด,เข็มดง) เข็มดอกหอมของไทย?

เข็มภูลังกา หรือ เข็มก้นปิด หรือ เข็มดง คือเข็มชนิดใหม่ของโลก และยังเป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย คือในโลกนี้จะพบเข็มภูลังกาได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น 

เข็มภูลังกา (เข็มก้นปิด, เข็มดง)

เข็มภูลังกา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ixora phulangkaensis Chamch. 

เข็มภูลังกา (เข็มก้นปิด,เข็มดง) เข็มถิ่นเดียวของไทย ดอกสีขาวอมชมพู ดอกมีกลิ่นหอม

จัดอยู่ในวงศ์ Rubiaceae (ชื่อสกุล Ixora มาจากภาษาสันสกฤต “Iswari” ชื่อของพระแม่อุมาเทวี (ปารวตี) เทวีแห่งอำนาจวาสนาและบารมี พระชายาองค์ที่สองของ พระศิวะ ที่ชาวอินเดียใช้ดอกเข็มแดงเพื่อบูชา

รายละเอียดเพิ่มเติม

คำระบุชนิด 'phulangkaensis' อ่านว่า ภูลังกา-เอนสิส หมายถึง พบที่ภูลังกา ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามสถานที่พบครั้งแรก)

เข็มภูลังกา เป็นเข็มหายาก อยู่ในสถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง เนื่องจาก ถิ่นที่อยู่อาศัยถูกคุกคาม เป็นดอกเข็มที่สวยงาม ช่อห้อยลง ดอกสีขาวอมชมพู ดอกมีกลิ่นหอม มีศักยภาพเป็นไม้ประดับ

เข็มภูลังกา (เข็มก้นปิด,เข็มดง) เข็มถิ่นเดียวของไทย ดอกสีขาวอมชมพู ดอกมีกลิ่นหอม

ต้นเข็มภูลังกา มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีความสูงได้ถึง 3 เมตร ก้านใบเกลี้ยง ยาว 1-2 มม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 2-3.5(-4) ซม. ยาว 5-15(-18) ซม. โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบข้างละ 6-8 เส้น หูใบยาว 3-5 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม ติ่งหูใบ ยาว 2-3 มม.

ดอกเข็มภูลังกา ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อดอกแบบช่อกระจุกประกอบ ช่อห้อยลง ใบประดับรองรับช่อดอกกว้างประมาณ 3.5 ซม. ยาว 10-12 ซม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 3-5 มม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก ยาว 2-4 มม. กลีบดอกสีขาวอมชมพู ดอกมีกลิ่นหอม

กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดกลีบดอกยาว 25-35 มม. แฉกกลีบดอกรูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 2-2.2 มม. ยาว 6-7 มม. โคนกลีบดอกมีขนสั้น อับเรณูสีเหลือง ยอดเกสรเพศเมียสีชมพูเข้ม ผลแบบผนังผลชั้นในแข็ง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 มม. เมื่อผลสุกสีแดงและเมื่อผลแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ

เข็มภูลังกา (เข็มก้นปิด,เข็มดง) เข็มถิ่นเดียวของไทย ดอกสีขาวอมชมพู ดอกมีกลิ่นหอม

ต้นเข็มภูลังกา เป็นเข็มป่าพื้นเมืองของไทย ซึ่งจัดว่าเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย คือในโลกนี้จะพบได้ในประเทศไทยเท่านั้น มีการกระจายพันธุ์ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เลย บึงกาฬ นครพนม)

พบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ และอุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม ซึ่งนิเวศวิทยาในประเทศไทยพบขึ้นริมลำธารในป่าดิบแล้ง หรือตามชายเขาหินปูน ที่ความสูงจากระดับทะเล 100–600 ม.ออกดอกและเป็นผล ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

สถานภาพและปัจจัยคุกคาม พืชถิ่นเดียวของไทย (Chamchumroon, 2014); ถิ่นที่อยู่อาศัยถูกคุกคาม การประเมินสถานภาพตามเกณฑ์ IUCN (2001) ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR)

อ้างอิง: หนังสือเผยแพร่; พรรณไม้สำคัญในระบบนิเวศเขาหินปูน กลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว โดย กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2561

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

มวนนักกล้าม แมลงศัตรูพืชตระกูลถั่ว ถั่วลิสง ถั่วแระ ถั่วฝักยาว?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

ต้นลัดดาวัลย์ (ลดาวัลย์) ชอบแดดไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก การขยายพันธุ์ ราคาถูก?

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

ต้นกระถินณรงค์ แตกต่าง กระถินเทพา ลักษณะ ข้อดี ประโยชน์ วิธีปลูก ขยายพันธุ์?

อิมิดาโคลพริด imidacloprid คืออะไร อันตรายไหม? ประโยชน์ ออกฤทธิ์ วิธีใช้ ราคา?

ต้นมั่งมี (เฉียงพร้านางแอ) มั่งมีศรีสุข ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

แคคตัส ดาวล้อมเดือน อิชินอปซิส Echinopsis calochlora ลักษณะเด่น วิธีปลูก ดูแล?