อิมิดาโคลพริด imidacloprid คืออะไร อันตรายไหม? ประโยชน์ ออกฤทธิ์ วิธีใช้ ราคา?
อิมิดาโคลพริด imidacloprid คืออะไร
Imidacloprid ที่เรียกว่า "อิมิดาโคลพริด" หรือ "อิมิดาคลอพริด" คือ เป็นสารกำจัดแมลง ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นสารชนิดดูดซึม ไม่ขับไล่แมลง ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท กำจัดแมลงได้ทั้งการ สัมผัสและการกิน
สารกลุ่มนี้ในปัจจุบันมีการนำมาใช้กำจัดแมลงในบ้านเรือน พวกมด ปลวก และ แมลงสาบได้ผลดี ผลโดยรวมคือการรบกวนระบบสื่อประสาทในแมลง แมลงที่ได้รับยาฆ่าแมลงนี้จะเฉื่อยชา อ่อนแรง หยุดกินอาหาร และตายในที่สุด
อิมิดาโคลพริดนี้มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นต่ำกว่าแมลง ทำให้มีผลจำเพาะเจาะจงต่อแมลงมากกว่า และการที่การออกฤทธิ์ของยาฆ่าแมลงกลุ่มนี้ต่างจากกลุ่มอื่น ทำให้สามารถใช้กำจัดแมลงที่ดื้อต่อยาฆ่าแมลงกลุ่มอื่นได้
คุณสมบัติ อิมิดาโคลพริด กลุ่มไหน
สารกำจัดแมลงศัตรูพืช อิมิดาโคลพริด imidacloprid มีกลไกการออกฤทธิ์ อยู่ในกลุ่มย่อย 4A สารนีโอนิโคตินอยด์ (Neonicotinoids) มีคุณสมบัติถูกตัวตาย กินตาย ดูดซึมและซึมผ่านปากใบ
พืชสามารถดูดซึมผ่านทางรากและลําเลียงไปส่วนยอดผ่านท่อน้ำของพืช (Xylem) กลไกออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง โดยขัดขวางบริเวณจุดรับ นิโคตินิค อะซิทิลโคลีน (nAChR) มีพิษต่ำต่อสัตว์เลือดอุ่น เป็นอันตรายต่อผึ้ง
อิมิดาโคลพริด ออกฤทธิ์
สารกำจัดแมลงศัตรูพืช อิมิดาโคลพริด imidacloprid อยู่ในกลุ่ม 4. สารกลุ่มที่ปรับการทำงานของตัวรับสารอะเซติลโคลีนชนิดนิโคตินิกโดยการจับแบบแข่งขัน ซึ่งการจัดแบ่งกลุ่มสารกำจัดแมลงศัตรูพืชตามกลไกการออกฤทธิ์ ข้อมูลจาก IRAC และ BASF
กลไกการออกฤทธิ์ ของสารในกลุ่ม 4 นี้เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทคล้ายกับสารนิโคตินที่พบในใบยาสูบ โดยสารจะเลียนแบบ (agonist) การทำงานของสารสื่อประสาท acetylcholine
สารกลุ่มนี้จะไปแข่งขัน (แย่งกัน) กับสารอะเซติลโคลีนในการจับที่ตัวรับสารอะเซติลโคลีนชนิดนิโคตินิก (nicotinic acetylcholine receptor, nAChR) ที่ผิวของปลายเซลประสาทบริเวณ synapse
แล้วกระตุ้นให้ nAChRs ทำงานในการส่งกระแสประสาทที่มากผิดปกติ (overstimulation) ในระยะแรก ส่วนระยะต่อมา เมื่อสารฆ่าแมลงกลุ่ม 4 นี้จับที่ตัวรับสารอะเซติลโคลีนชนิดนิโคตินิกนานๆ จะทำให้ตัวรับเปลี่ยนรูปทรงไปเป็นรูปทรงที่ไม่สามารถทำงานได้ (desensitized) หรือ nAChD
สารฆ่าแมลงกลุ่ม 4 นี้มีพิษสูงมากต่อผึ้ง จึงไม่ควรใช้ในพืชช่วงที่พืชกำลังออกดอกและมีผึ้งมาช่วยผสมเกสร
อิมิดาโคลพริด อันตรายไหม
โชคดีที่ อิมิดาโคลพริด imidacloprid และสารกำจัดแมลงชนิดนีโอนิโคตินอยด์อื่นๆ เป็นพิษต่อแมลงมากกว่าที่เราเป็น และยังเป็นพิษต่อระบบประสาทของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและกระดูกสันหลัง (รวมถึงนกและปลา) น้อยกว่าต่อแมลง
อาการเกิดพิษ สำหรับกลุ่มคลอโรนิโคตินิล เช่น อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) คือ มีอาการซึม หายใจขัด และมีอาการสั่นกระตุก ถ้ามีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งให้หยุดทำงาน ทำการปฐมพยาบาลแล้วรีบไปพบแพทย์
เปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์
ความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย จะระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักสารสำคัญต่อน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ (%w/w) หรือ ต่อปริมาตรของผลิตภัณฑ์ (%w/v) เช่น 10, 35, 70 เป็นต้น
ซึ่งสำหรับสารกำจัดแมลง อิมิดาโคลพริด imidacloprid ไซมิดา โกลด์ ระบุไว้ว่า 10% w/v ซึ่งระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักสารสำคัญ ต่อ ปริมาตรของผลิตภัณฑ์ นั่นเอง
ชนิดของสูตรสำเร็จ
สูตรผสม SL คือ สารผสมของเหลวข้น (soluble concentrates: SL) เป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช อยู่กลุ่มสารผสมรูปแบบของของเหลว สารเคมีกลุ่มนี้ผสมอยู่ในรูปแบบของของเหลวจำเป็นต้องผสมน้ำก่อนนำไปใช้ ซึ่งเป็นการจัดแบ่งประเภทของสูตรผสมของสารกำจัดแมลงศัตรูพืช ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
ประโยชน์ และ วิธีใช้
การใช้ประโยชน์ : ใช้ป้องกันกําจัดเพลี้ยไฟ, เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยกระโดด, เพลี้ยจักจั่นฝอย, เพลี้ยจักจั่นฝ้าย, มวนเขียวข้าว, มวนลําไย, แมลงสิ่ง, แมลงหล่า, หนอนชอนใบส้ม เป็นต้น
วิธีใช้ กับ ข้าวโพด (Corn)
การพ่นสารกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยเครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง (knapsack sprayer) ระยะข้าวโพดอายุ 1-2 สัปดาห์ ใช้น้ำไร่ละ 30-40 ลิตร อายุ 3-4 สัปดาห์ ใช้น้ำไร่ละ 40-50 ลิตร อายุ 5 สัปดาห์ขึ้นไป ใช้น้ำไร่ละ 60-80 ลิตร หลังข้าวโพดออก ฝักหรือใกล้เก็บเกี่ยวพ่นเฉพาะฝัก ใช้น้ำไร่ละ 60-80 ลิตร
ศัตรูพืช: เพลี้ยไฟข้าวโพด (Frankliniella Williams) เพลี้ยไฟถั่ว (Caliothrips sp.) เพลี้ยไฟดอกไม้ฮาวาย (Thrips hawaiiensis)
- อัตราการใช้สารกำจัดแมลงศัตรูพืช: 30 มล./น้ำ 20 ลิตร
- วิธีใช้สารกำจัดแมลงศัตรูพืช: พ่นเมื่อเพลี้ยไฟระบาด พ่นซ้ำตามความจำเป็น
- คำแนะนำ: เพลี้ยไฟข้าวโพดและเพลี้ยไฟ ระบาดในระยะข้าวโพดต้นเล็กและเมื่อเกิดฝนแล้ง, เพลี้ยไฟดอกไม้ฮาวายระบาดในระยะข้าวโพดออกฝัก แมลงชอบทำลายที่ไหม ทำให้ฝักไม่ติดเมล็ด ให้พ่นเฉพาะบริเวณปลายฝัก
วิธีใช้ กับ ยาสูบ (Tobacco)
การพ่นสารกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยเครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง (knapsack sprayer) ยาสูบพันธุ์เตอร์กิช อายุ 7-30 วัน ใช้น้ำไร่ละ 30-50 ลิตร อายุ 30-90 วัน ใช้น้ำไร่ละ 50-70 ลิตร ยาสูบพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์เวอร์จิเนียร์ และพันธุ์เบอร์เล่ย์ อายุ 7-30 วัน ใช้น้ำไร่ละ 40-70 ลิตร อายุ 30-90 วัน ใช้น้ำไร่ละ 70-90 ลิตร
ศัตรูพืช: เพลี้ยอ่อนลูกท้อ (Myzus persicae)
- อัตราการใช้: 10 มล./น้ำ 20 ลิตร
- วิธีใช้: พ่นเมื่อพบเพลี้ยอ่อนมีความหนาแน่น 10-20% ของพื้นที่ใบทั้งต้น จากจำนวน 10% ของทั้งหมด
- คำแนะนำ: ควรพ่นเฉพาะ บริเวณที่พบเพลี้ย อ่อนเข้าทำลาย เพื่อ ลดปริมาณประชากร ของแมลงและรักษา คุณภาพของใบ ยาสูบ ทำความ สะอาดแปลงกำจัด ซากพืชและวัชพืชใน แปลง และบริเวณ ใกล้เคียงภายหลัง เก็บเกี่ยว
ศัตรูพืช: แมลงหวี่ขาวยาสูบ (Bemisia tabaci)
- อัตราการใช้: 20 มล./น้ำ 20 ลิตร
- วิธีใช้: เนื่องจากแมลงหวี่ขาวเป็น พาหะของโรคใบหด ขณะ ปลูกรองก้นหลุมด้วยสารฆ่า แมลงชนิดเม็ดและพ่นด้วย สารฆ่าแมลงชนิดพ่นอย่างใด อย่างหนึ่ง ภายหลังปลูก 10 วัน จำนวน 3-4 ครั้ง ทุก 7 วัน สำหรับการปลูกฤดูแล้ง และทุก 14 วัน สำหรับการ ปลูกฤดูฝน