✓ต้นไม้: 'ต้อยติ่ง' เป๊าะแป๊ะ วัชพืชดอกสีม่วง ไม้ต่างถิ่นรุกราน?
ข้อมูล ต้นต้อยติ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ ถิ่นกำเนิดเป็นไม้ต่างถิ่น หมู่เกาะอินดีสในทวีปอเมริกาตอนกลาง ลักษณะไม้ล้มลุก ดอกสีม่วง ประโยชน์ พืชต่างถิ่นรุกราน, การขยายพันธุ์
ต้อยติ่ง
ข้อมูลทั่วไป ถิ่นอาศัย, แหล่งที่พบ
ต้อยติ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ruellia tuberosa L. อยู่ในวงศ์ Acanthaceae ถิ่นกําเนิด : ต้านตะวันตกของหมู่เกาะอินดีสในทวีปอเมริกาตอนกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุกอายุหลายปี สูงไม่เกิน 30 เซนติเมตร ใบเรียงตรงกันข้าม รูปรี-ไข่กลับ ยาว 4-8 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง ดอกมักออกเดี่ยว ดอกสีม่วงมี 5 กลีบคล้ายแตร ดอกยาว 3-5 เซนติเมตร
ฝักรูปทรงกระบอกตั้งขึ้นยาว 2-3 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงรูปเส้นด้าย ยาว 2 เซนติเมตร ติดทน เมื่อแก่ฝักจะแห้งและเมื่อถูกนํ้าหรือความชื้น ฝักจะแตกสองเสี่ยงตรงกลางฝักแต่ละซีกมีหนาม
แพร่ระบาดไปทั่วประเทศ เพราะเมล็ดมีอายุยืนทนทาน ดีดกระจายไปไกล ติดไปกับดินและนํ้าได้ ต้นมีอายุยืนมีเหง้าและรากลึกจํานวนมากคล้ายรากต้นกระชาย ถอนได้ยากมาก ทนแล้งและทนไฟได้ดี ขึ้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร
ที่มา: เอกสารเผยแพร่; พืชต่างถิ่นที่ถูกรุกรานในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (Invasive Plants in Protected Area)