Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

พรรณพืช

✓ต้นไม้: 'ชมพูไพร' ดอกสีชมพู ไม้ประดับ ไม้กระถางเลื้อยซุ้ม?

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก "ชมพูไพร" สวยหวานคล้ายดอกกุหลาบแรกแย้ม ออกดอกทั้งปี ชมพูไพร ชมพูไพร ( Thunbergia impatienoides Suwanph. & S. Vajrodaya) พืชชนิดใหม่ของโลก สู่การพัฒนาเป็นไม้ประดับชนิดใหม่  เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ถูกค้นพบใน พ.ศ. 2559 และตีพิมพ์ยืนยันการเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกในปี 2561 จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) รายละเอียดเพิ่มเติม ชมพูไพร ถูกค้นพบและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์โดย ผศ. ดร. เฉลิมพล สุวรรณภักดี และ รศ. ดร. สรัญญา วัชโรทัย จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากสํานักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว) ชมพูไพรถูกค้นพบครั้งแรกจากป่าเต็งรัง บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี และตีพิมพ์เผยแพร่การเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกในวารสาร Blumea ฉบับที่ 63 ซึ่งเป็นวารสารทางด้านอนุกรมวิธานพืชที่เก่าแก่ของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยคําระบุชนิด ' Impatienoides ' หมายความว่า ดอกคล้ายดอกเทียนสวน ซึ่งเป็นไม้ประดับนําเข้า ชมพูไพรจัดอยู่

ต้นกำปองดิน พรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย ดอกสีม่วงอมชมพูหวาน?

กำปองดิน คืออะไร กำปองดิน เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย (endemic) พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Didymocarpus insulsus Craib จัดอยู่ในวงศ์ชาฤาษี Gesneriaceae กำปองดินเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบเรียงเป็นวงรอบ 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน รูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 6.5-13.5 ยาว 9.5-20 ซม.  ปลายมน โคนรูปลิ่ม ขอบจักฟันเลื่อยถี่ไม่เป็นระเบียบ แผ่นใบกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนมีขนประปราย ด้านล่างเกลี้ยง ช่อดอกออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกจากกัน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดรูปทรงกรวย สีม่วงจางถึงม่วงแดง ฝักรูปทรงกระบอกแคบ รายละเอียดเพิ่มเติม ตัวอย่างต้นแบบ Unknown collector 93 เป็นตัวอย่างที่ได้จากการเพาะเมล็ดที่ส่งไปที่แอเบอร์ดีนโดยหมอคาร์ ซึ่งออกดอกในเดือนตุลาคม ปี 1925 โดยในเอกสารตีพิมพ์ครังแรกได้ระบุไว้ว่า  plant from Thailand cultivated in Aberdeen from seeds received from Dr. A.F.G. Kerr which flowered in Aberdeen in October 1925 ในอดีตมีพรรณไม้หลายชนิดที่ถูกตีพิมพ์เป็นชนิดใหม่จากต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด บางครั้งไม่ได้เก็

ต้นแววตา Thunbergia alata ลักษณะ วิธีปลูก ไม้เลื้อยดอกสวย?

ต้นแววตา แววตา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia alata Bojer ex Sims อยู่ในวงศ์ Acanthaceae ข้อมูลทั่วไป ถิ่นอาศัย, แหล่งที่พบ ถิ่นกําเนิด : ทวีปแอฟริกาตอนใต้ วิธีการปลูกเลี้ยงและการนำมาใช้ประโยชน์ ใช้ประโยชน์เพื่อปลูกเป็นไม้ประดับ แต่จะเจริญเติบโตได้ดี และติดเมล็ดในสภาพอากาศที่เย็น และชุ่มชื้นบนพื้นที่สูงมากกว่า 700 เมตร โดยจะเลื้อยปกคลุมพืชชนิดอื่นได้อย่างรวดเร็ว และหนาแน่นมาก จนขาดแสงแดดและตายลง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลักษณะอยู่อาศัย : ไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี ยาวได้ถึง 10 เมตร ลักษณะลำต้น : กิ่งเป็นสี่เหลี่ยม มีขนสั้น ใบ : ใบเรียงตรงกันข้าม ลักษณะใกล้เคียงต้นรางจืด แต่มีใบและดอกที่เล็กกว่า ใบรูปไข่-รูปเงี่ยงหอก ยาว 3-7 เซนติเมตร มีขนสากทั้งสองด้าน ดอก : ดอกสีเหลือง-ส้ม มี 5 กลีบ กลีบดอกขนาดเท่ากัน ด้านในหลอดกลีบดอกสีม่วงอมนํ้าตาล (ซึ่งจะแตกต่างกับ นํ้าแน่ดง Thunbergia hossei ที่เป็นพืชป่าจะมีขนาดของกลีบดอกทั้ง 5 กลีบไม่เท่ากัน และด้านในหลอดไม่มีสีม่วง) ที่มา: เอกสารเ

ต้น'จำปีถิ่นไทย' จำปีพื้นเมืองของไทย สกุลแมกโนเลีย หายาก?

จำปีถิ่นไทย "จำปีถิ่นไทย" เป็นพรรณไม้ดอกหอมพื้นเมืองของไทย ในวงศ์จำปี Magnoliaceae ในไทยพบขึ้นกระจายห่าง ๆ ทางภาคใต้ที่ชุมพร สงขลา พังงา นราธิวาส นิเวศวิทยาขึ้นตามสันเขาหรือที่ลาดชันในป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 700 เมตร มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศไทย ไปถึงคาบสมุทรมลายู และสุมาตรา จำปีถิ่นไทย อยู่ในสกุลแมกโนเลีย Magnolia   photo: S. Gardner. มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnolia koordersiana (Noot.) Figlar มีชื่อพ้องคือ Michelia koordersiana Noot.  ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกใน Proc. Int. Symp. Magnoliac. 1: 22 (2000) รายละเอียดเพิ่มเติม ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของจำปีถิ่นไทย ต้นจำปีถิ่นไทย มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงได้ถึง 30 ม. มีหูใบติดที่โคนก้านใบ ยาว 1-1.5 ซม. ใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ยาว 6-23 ซม. ปลายแหลมยาว มักเบี้ยว ก้านใบยาว 1-2 ซม. ดอกจำปีถิ่นไทย ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 1.5 ซม. ก้านดอกสั้น ดอกสีเหลือง มี 9 กลีบ เรียง 2 วง รูปใบหอกแคบ กลีบวงนอก 3 กลีบ ยาว 1.2-2.2 ซม. กลีบวงใน 6 กลีบ หนากว่า เกสรเพศผู้ย

ต้นต่อไส้ Tit-Berry ผลสุกสีแดง ผลไม้กินได้ทั้งเมล็ด สรรพคุณ?

ต้น'ต่อไส้' (Tit-berry) ต่อไส้ ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allophylus cobbe (L.) Forsyth f.  จัดเป็นพืชในสกุล Allophylus อยู่ในวงศ์เงาะ (Sapindaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร ชื่อไทย ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า ต่อไส้ (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557) ต้นต่อไส้ มีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า Tit-berry, Indian Allophylus รายละเอียดเพิ่มเติม และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า จ๊าตอง (ลำพูน), เพี้ยฟาน (เชียงใหม่), ต่อไส้, ต่อไส้ขาว (ภาคกลาง), ตานขโมย (กาญจนบุรี), ตาลอีลิ้น, ตานอีลิ้น (สระบุรี), กระดูกอึ่ง (อ.วารินชำราบ อุบลราชธานี), ก้ามปู มันปู (มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น, อ.เจริญศิลป์ สกลนคร), มะละก๊วต (ส่วย-อ.ท่าตูม สุรินทร์), กวง, กุม, ไก่เถื่อน, ข้าวตาก, คางลาง, ง้วนพู, จ๊าตอง, แมงเม่า, โลด, โลดน้ำ, สิบไส้ นิเวศวิทยา ต้นต่อไส้ ในประเทศไทยพบขึ้นตามชายป่าหรือป่าที่ถูกรบกวน ทั้งในป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ ป

✓ต้นไม้: จำปีแขก Magnolia figo (แมกโนเลีย ฟิโก้) ดอกหอม?

จำปีแขก, จำปาแขก แมกโนเลีย 'จำปีแขก' ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Magnolia figo (Lour.) DC. (แมกโนเลีย ฟิโก้) เป็นสปีชีส์ในกลุ่มพืชดอก Angiosperms โดยอยู่ในสกุลแมกโนเลีย Magnolia ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ Magnoliaceae. ถิ่นกำเนิดของ 'จำปีแขก' เป็นพรรณไม้ต่างถิ่น (Introduced species) มีการกระจายพันธุ์ในถิ่นกำเนิดที่พบในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของจีน (southeast China) และ เกาหลี Korea (Jeju-do) ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเพื่อปลูกเป็นไม้ประดับ ชื่อสามัญของ'จำปีแขก' ภาษาอังกฤษ คือ Banana Magnolia, Banana Shrub, Port Wine Magnolia ในไทยบางคนก็เรียก จำปาแขก ในธรรมชาติ สามารถแบ่ง'จำปีแขก' ได้เป็น 3 พันธุ์ คือ Magnolia figo var. crassipes (Y.W.Law) Figlar & Noot. Magnolia figo var. figo Magnolia figo var. skinneriana (Dunn) Noot. 'จำปีแขก' มีชื่อพ้อง 2 Synonyms คือ Liriodendron figo Lour. Michelia figo (Lour.) Spreng.

ต้นบุหงาลลิษา (ลิซ่า Blackpink) ไม้ดอกหอมชนิดใหม่ 2566?

ต้นบุหงาลลิษา คือต้นอะไร ต้นบุหงาลลิษา มีลักษณะเด่น คือ พรรณไม้ที่ลักษณะเป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีกลิ่นหอมแรง กลีบดอกหนา สีเหลือง กลีบชั้นนอกเรียวยาว กลีบชั้นในประกบกันไม่บานออก มีความยาวประมาณครึ่งหนึ่งของกลีบชั้นนอก ต้นบุหงาลลิษา เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ โดยนักวิจัยสังกัดภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รายละเอียดเพิ่มเติม นำโดย ผศ. ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู น.ส.อานิสรา ดำทองดี นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์ และนายอับดุลรอแม บากา นักวิจัยสังกัดกลุ่มวิจัยอิสระ PDiT : Plant Diversity in Thailand พร้อมผู้ร่วมวิจัยอีกหลายคน ร่วมกันศึกษาตัวอย่างพืชดอกหอมวงศ์กระดังงา (Annonaceae) ใน จ.นราธิวาส ชื่อไทยของพรรณไม้ชนิดนี้ คือ บุหงาลลิษา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Friesodielsia lalisae Damth., Baka & Chaowasku โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า ศิลปินชื่อดังชาวไทย จากวง Blackpink ของเกาหลีใต้ ซึ่งความมุ่งมั่นของลิซ่าเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาระดับปริญญาเอกขอ

เอื้องชะนี ออกดอกช่วงเดือนไหน ลักษณะ กล้วยไม้ป่าดอกหอม?

เนื้อหาข้อมูล เอื้องชะนี คืออะไร ชื่อวิทยาศาตร์ การกระจายพันธุ์ ลักษณะพรรณไม้ ออกดอกช่วงเดือนไหน? เอื้องชะนี คืออะไร เอื้องชะนี คือ กล้วยไม้ป่าที่มีลักษณะเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีจุดเด่นอยู่ที่ดอกสีเหลืองเข้ม สวยงามมาก และดอกมีกลิ่นหอม ลำมีขนสีขาวดูคล้ายขนชะนี นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ กล้วยไม้ดอกหอม รายละเอียดเพิ่มเติม ชื่อวิทยาศาสตร์ เอื้องชะนี มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Dendrobium senile C.S.P.Parish & Rchb.f. เป็นกล้วยไม้ที่จัดอยู่ในสกุลหวาย (Genus: Dendrobium ) ซึ่งอยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Family: Orchidaceae) เอื้องชะนี ยังมีชื่อท้องถิ่น ชื่ออื่นอีก คือ เอื้องมือชะนี, มือชะนี, เอื้องนางชะนี, เอื้องอีฮุย, ขนค่าง, เอื้องมือค่าง, เอื้องนางนี, เอื้องขนค่าง ชื่อพ้อง (Synonyms) คือ Callista senilis (C.S.P.Parish & Rchb.f.) Kuntze การกระจายพันธุ์ เอื้องชะนี มีการกระจายพันธุ์ ในทวีปเอเชีย ไทย พม่า และลาว แหล่งที่พบในประเทศไทย พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก ภาคตะวันออก

ต้นนมแมวซ้อน ออกดอกช่วงไหน? ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ?

เนื้อหาข้อมูล ต้นนมแมวซ้อน คือต้นอะไร ชื่อวิทยาศาตร์ การกระจายพันธุ์ ลักษณะพรรณไม้ ออกดอกช่วงเดือนไหน? การใช้ประโยชน์ วิธีขยายพันธุ์ ต้นนมแมวซ้อน คือต้นอะไร ภาพ: ดอกนมแมวซ้อน โดย yardstory ต้นนมแมวซ้อน คือ พรรณไม้ป่าผลัดใบ ที่มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง มีจุดเด่นอยู่ที่ดอกมีความสวยงามและดอกมีกลิ่นหอม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ไทย ไม้ดอกหอม ปลูกประดับรั้ว ซุ้มไม้เลื้อย ปลูกประดับให้ร่มเงา และยังมีสรรพคุณเป็นพืชสมุนไพรไทย ผลสุกรสหวาน เป็นผลไม้ป่ากินได้ รายละเอียดเพิ่มเติม ชื่อวิทยาศาสตร์ นมแมวซ้อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Uvaria dulcis Dunal อยู่ในสกุล Uvaria ซึ่งอยู่ในวงศ์กระดังงา Annonaceae นมแมวซ้อน ยังมีชื่อท้องถิ่น ชื่ออื่นอีก คือ คือ เครือนมวัว (ภาคเหนือ); ตบหู (นครพนม); ตีนตั่ง (อุบลราชธานี); ตีนตั่งน้อย (นครพนม); นมแมว, นมแมวซ้อน, นมวัว (ภาคเหนือ) ชื่อพ้อง (Synonyms) : Anomianthus dulcis (Dunal) J.Sinclair การกระจายพันธุ์ การกระจายพันธุ์ของต้นนมแมวซ้อน พบที่พม่า ภูมิภาคอินโดจีน ชวา

เอื้องแซะมะลิ ออกดอกช่วงเดือนไหน เอื้องแซะสุเทพ ดอกหอม?

เนื้อหาข้อมูล เอื้องแซะมะลิ คืออะไร ชื่อวิทยาศาตร์ การกระจายพันธุ์ ลักษณะพรรณไม้ ออกดอกช่วงเดือนไหน? เอื้องแซะมะลิ คือต้นอะไร เอื้องแซะมะลิ คือ กล้วยไม้ป่า ที่มีลักษณะเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีจุดเด่นอยู่ที่ดอกสวยและมีกลิ่นหอม กล้วยไม้หายาก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ กล้วยไม้ดอกหอม รายละเอียดเพิ่มเติม ชื่อวิทยาศาสตร์ เอื้องแซะมะลิ ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Dendrobium sutepense Rolfe ex Downie เป็นกล้วยไม้ที่จัดอยู่ในสกุลหวาย (Genus: Dendrobium ) ซึ่งอยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Family: Orchidaceae) เอื้องแซะมะลิ ยังมีชื่อท้องถิ่น ชื่ออื่นอีก คือ เอื้องมะลิ, เอื้องแซะ, เอื้องแซะดอยปุย, เอื้องแซะสุเทพ, เอื้องแซะขุนตาล การกระจายพันธุ์ เอื้องแซะมะลิ มีการกระจายพันธุ์ ในทวีปเอเชีย ไทย และพม่า แหล่งที่พบในประเทศไทย ตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และเชียงราย ที่ระดับความสูง 1,400- 2,000 เมตร ลักษณะพรรณไม้ เอื้องแซะมะลิ จัดอยู่ในกลุ่มกล้วยไม้อิงอาศัย ระบบราก เป็นรากกึ่งอากาศ (Semi - epiphytic)